วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 10% ของประชากร ซึ่งไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ทั่วโลกเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในประเทศไทยมีประชากรประมาณ 60 ล้านคน ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 6 ล้านคน (เป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย) มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า

โรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า เป็นโรคที่มาจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่หุ้มปลายกระดูกถูกทำลายมากขึ้น (เนื่องจากสูงอายุ มักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป) ในขณะที่การสร้างทดแทนลดลง ทำให้กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อเป็นแผลและไม่เรียบ จนทำให้เนื้อกระดูกที่อยู่ด้านล่างขัดสีกันเมื่อมีการเคลื่อนไหว เกิดการอักเสบ ปวด บวมที่บริเวณข้อ ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหว ยืน เดิน หรือนั่งลดลง

อาการแสดงออกของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจพบอาการเพียงอาการเดียว หรือหลายอาการพร้อมกันก็ได้ ในระยะแรกมักจะเป็นไม่มาก และเป็น ๆ หาย ๆ แต่เมื่อข้อเสื่อมมากขึ้น ก็จะมีอาการบ่อยมากขึ้น หรือเป็นตลอดเวลา 
  • ปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่ ต้นขา น่อง และข้อพับเข่า ผิวหนังบริเวณข้ออุ่นหรือร้อนขึ้น
  • ข้อขัด ข้อฝืด เหยียด-งอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่า จากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ
  • ข้อเข่าบวม เพราะน้ำไขข้อมากขึ้นจากการอักเสบ หรือ มีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่าจากเยื่อบุข้อเข่าโป่งออก
  • เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือมีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูปร่าง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง 

การรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
  • กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ 
  • ยาบรรเทาอาการ ยาคลายกล้ามเนื้อ (การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น)
  • ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ (ปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่สร้างขึ้นใหม่) หรือยาชะลอความเสื่อม
  •  ฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือน 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง (13,000-16,000 บาท)
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือเจาะข้อเพื่อดูดน้ำไขข้อออก จะทำให้อาการปวดดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ก็จะกลับมาเป็นอีก และมีผลข้างเคียง เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น กระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบ หรือติดเชื้อในข้อ จึงถือว่าเป็นเพียงแค่บรรเทาอาการชั่วคราวเท่านั้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หรือผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง (และนี่คือหนทางสุดท้ายในการแพทย์แผนปัจจุบัน) 

 ข้อแนะนำในการดูแลรักษาด้วยตนเอง
  1. ลดน้ำหนัก เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่งจะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 10 เท่าของน้ำหนักตัว ( การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น )
  2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี
  3. ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น
  4. เข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี
  5. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
  6. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว
  7. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ
  8. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวด
  9. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
  10. ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และมีขนาดกระชับพอดี
  11. ใช้ไม้เท้า โดยเฉพาะผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม
  12. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น
  13. การออกกำลังกายวิธีอื่น ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็ว ๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาดได้และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้
  14. ถ้ามีอาการปวด ให้พักการใช้ข้อเข่า และประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้ (น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ black seed oil สามารถใช้ทาภายนอก เพื่ออาการอักเสบของข้อเข่า และการปวดเมื่อกล้ามเนื้อได้ ดีมาก ๆ)

 ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้
จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ เพื่อลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร จึงถือว่าแนวทางรักษาข้างต้นเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น และยังมีข้อจำกัดในการรักษาอีกด้วย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และบรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ก็มีอายุใช้งานได้นานแค่ 10 -15 ปี เป็นต้น

(( ความคิดเห็นจาก KAMIL HABBATUSSAUDA ))
จากบทความข้างต้นคงพอที่จะทำให้เราเห็นว่า “การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ เนื่องจากการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มิอาจช่วยท่านให้หายจากการเจ็บปวดได้สักเพียงใด อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูงและมีผลกระทบข้างเคียงมากมายตามมา”

การเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยดูแลและปกป้องร่างกายให้ห่างไกลจากโรค อาหารที่แนะนำสำหรับผู้มีโรคข้ออักเสบ ได้แก่ โปรตีนจากถั่วเหลือง ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผลไม้และผักใบเขียว นอกจากนี้ขิงก็พบว่า มีสารช่วยลดการอับเสบได้ และอาหารที่ให้โอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย ซึ่งพบว่ามีมากในปลาทะเลน้ำลึกนั้น มีคุณสมบัติในการยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูกด้วยเช่นกัน

น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Black Seed Oil บำบัดรักษาอาการข้ออักเสบได้
องค์ประกอบของสารพฤกษเคมีกว่า 100 ชนิดใน Black Seed Oil รักษาโรคข้ออักเสบ ที่สำคัญได้แก่ โอเมก้า 3, โอเมก้า 6, แคลเซี่ยม, ฟอสฟอรัส, โปตัสเซี่ยม และสุดยอดของสารอาหารใน Black Seed Oil ก็คือ สารสกัด Thymoquinone ที่ช่วยต่อต้านการอักเสบ และลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี  โดยที่เราไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด หรือแก้อักเสบ ให้มาทำร้ายตับ ไตที่เป็นอวัยะสำคัญของร่างกาย  และด้วยเหตุนี้เอง ฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Black Seed Oil จึงได้เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ช่วยลดไข้ และแก้ปวด มานับเป็นเวลากว่า 3,000 ปี  โดยเฉพาะในวัฒนธรรมอิสลาม ชาวอาหรับได้ใช้ฮับบาตุซเซาดะฮฺ เพื่อรักษาโรคต่างๆ ได้แก่ ไข้, หอบหืด, ปวดหัวเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, ระบบย่อยอาหาร, ปวดหลัง, การติดเชื้อ และโรคไขข้ออักเสบ ฯลฯ (ตามที่ KAMIL HUBBATUSSAUDA ได้เคยนำเสนอมาแล้วในเรื่องความเป็นมาทางประวัติศาสตร์)

มะเร็งตับ..ภัยร้ายที่ไม่ควรประมาท


“มะเร็งตับ”  เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง และผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับนี้ถ้ารู้ตัวก็มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน

1. ไวรัสตับอักเสบบีและซี จากข้อมูลทางสถิติพบว่า 80% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีและซีมาก่อน โดยมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติถึง 223 เท่า 
2. ตับแข็ง ประมาณ 90% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับจะมีอากรตับแข็งร่วมด้วย 
3. ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทำให้มีอาการตับแข็ง
4. ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีโรคอ้วน
4. สารอะฟลาท๊อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งพบปนเปื้อนอยู่ในถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ เป็นสารก่อมะเร็ง  จึงเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ จากการศึกษาพบว่า อะฟลาท๊อกซิน มีความสัมพันธ์กับไวรัสตับอักเสบบี โดยเชื่อว่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นตัวทำให้เกิดมะเร็งตับ  และอะฟลาท๊อกซินเป็นตัวเสริม  ดังนั้น ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วลิสง โดยเฉพาะถั่วลิสงป่นที่เก็บค้างไว้นาน ๆ ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว และเต้าหู้ยี้

เราจะทราบได้อย่างไรว่า..กำลังเป็นมะเร็งตับ ?
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มีอัตราการอยู่รอดต่ำ ก็คือ มะเร็งตับในระยะแรก ซึ่งจะสามารถรักษาให้หายขาดได้นั้น มักไม่แสดงอาการที่ชัดเจนออกมา โดยผู้ป่วยจะมีอาการคลุมเครือ เช่น เสียดท้องด้านขวา มีอาการจุกแน่นในบางครั้ง แต่โดยส่วนใหญ่แทบไม่มีอาการอะไรเลย ทั้งนี้ ก็เพราะตับเป็นอวัยวะที่มีกำลังสำรองมาก คนเราสามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของตับประมาณ 30%  ดังนั้น เมื่อโรคปรากฏอาการชัดเจน มะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลาม หรือมีขนาดใหญ่และไม่สามารถจะรักษาได้แล้ว

อาการของผู้ป่วยมะเร็งตับ
 รู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกเสียด แน่นท้อง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว และอาการที่เด่นชัด ก็คือ ปวดชายโครงด้านขวา โดยอาจร้าวไปที่ไหล่ด้านขวาหรือลำตัวซีกขวา และอาจคลำพบก้อนที่ชายโครง

มะเร็งตับสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่มีข้อแม้หลายประการคือ ต้องเป็นก้อนเดียว
และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ลึกมาก หรือเฉพาะในกลีบซ้ายของตับ
 แต่โดยทั่วไปผู้ป่วยมะเร็งตับในบ้านเรา มักมาพบแพทย์เมื่ออยู่ในระยะที่ไม่สามารถที่จะผ่าตัดให้หายขาดได้  รวมไปถึงบางรายที่แม้ผ่าไปแล้ว ต่อมาพบมะเร็งเกิดขึ้นซ้ำอีก เนื่องมาจากมะเร็งได้กระจายไปในระดับเซลล์แล้วตั้งแต่ก่อนผ่าตัด แต่ยังไม่ถึงกับเป็นก้อนให้ตรวจพบได้ ก่อนหน้านี้เมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ผ่าตัดไม่ได้แล้ว ก็ไม่มีวิธีรักษาอื่นอีก แพทย์มักแนะนำให้ญาติกลับไปดูแลผู้ป่วยเองที่บ้าน หรือให้เพียงการรักษาประคับประคองกับผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากมะเร็งตับ
ในปัจจุบัน มีการรักษาอีกทางหนึ่งซึ่งจะช่วยยืดอายุผู้ป่วยมะเร็งตับให้ยืนยาวต่อไปได้อีก ทางการแพทย์เรียกว่า Transarterial Oily-chemoembolization ( TOCE ) เป็นการรักษาโดยรังสีแพทย์ หลักการคือการนำยาเข้าไปรักษาที่ตัวก้อนเนื้องอกในตับโดยตรง  การรักษาวิธีนี้จะทำให้เนื้องอกได้รับยาอย่างเต็มที่ ยาสามารถออกฤทธิ์อยู่ได้นาน ทำให้เนื้องอกฝ่อเป็นบางส่วน เนื้องอกยุบตัว และขนาดเล็กลง อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ยังไม่สามารถทำให้หายขาดได้ แต่เมื่อเทียบกับการที่ไม่ได้รับการรักษาใดเลย ผู้ป่วยอาจมีอายุเพิ่มขึ้นได้อีกหลายเดือน หรืออาจจะเลยปี  และช่วยให้ผู้ป่วยจะเจ็บปวดและทรมานจากโรคน้อยลง สามารถมีชีวิตอยู่อย่างสบายขึ้น


ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจากโรคร้ายนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และหากป่วยเป็นมะเร็งตับแล้ว..จะทำอย่างไรดีเล่า!! 

KAMIL HABBATUSSUADA มีลูกค้าคนหนึ่งอยู่ที่เชียงใหม่ เธอสั่งซื้อน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ black seed oil ของ KAMIL เมื่อวันที่ 16 ก.ย.นี้เอง เพื่อรักษามารดาของเธอ ซึ่งอายุ 70 กว่าปีแล้ว ป่วยเป็นมะเร็งตับ ระยะที่ 4 เธอไม่ได้ให้มารดาของเธอรับการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือเยียวยาตามการแพทย์แผนปัจจุบันมากนัก เนื่องจามารดาของเธออายุมาแล้ว คงทนรับผลกระทบจากการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันไม่ไหว  เธอจึงได้แสวงหาสมุนไพร หรือวิธีการรักษาทางธรรมชาติ จากข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต แล้วก็ได้มาพบเว็บบล็อกของ KAMIL HABBATUSSAUDA

โอ้..พระเจ้า มันคือทางรอดอันน้อยนิดที่ยังมีเหลืออยู่ เธอโทรมาดิฉันด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้นและสั่นเครือ  ซึ่งดิฉันก็บอกว่า "มิอาจรับปากได้นะ ว่าคุณยายจะรอดหรือไม่? เพราะไม่สามารถทราบได้ว่า อายุขัยของคุณยายจะจบลงเมือ่ไร? แต่ถ้าตัดสินใจรับประทานก็มีแต่ผลดีเกิดขึ้น ไม่มีผลเสียหาย"  ดังนั้น เธอจึงได้ตัดสินใจสั่งซื้อเพื่อทดลองทานดูก่อน 1 กระปุก และได้ให้คุณแม่ของเธอรับประทาน พร้อมทั้งตัวเองก็ลองทาน เพื่อรักษาอาการเบาหวานของเธอด้วย

ผลลัพธ์ที่ได้ภายในช่วงเวลาแค่ 10 วัน เธอบอกว่า คุณยาย (หมายถึง คุณแม่ของเธอ) มีอาการดีขึ้นมาก อาการตัวเหลืองน้อยลงกว่าเดิม และตัวเธอเองที่เป็นเบาหวาน ก็ได้ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด พบระดับน้ำตาลในเลือดลดลง..
(( ขอขอบพระคุณต่อพระผู้เป็นเจ้า ที่ได้โปรดประทานพืชสมุนไพรนี้ มาให้เป็นยาบำบัดรักษาโรคทั้งหลาย ที่เกิดแก่มวลมนุษยชาติ ))



วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

เชื้อรา Aspergillus fumigates เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคภูมิแพ้


ช่วงนี้อากาศไม่ค่อยดีนะคะ มีคนที่ไม่มีภูมิต้านทาน ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดกันเยอะมาก และบางคนก็มีอาการแพ้อากาศ เช่นเดียวตัวของฉันเองก็ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ จึงได้พยายามหาคำตอบหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะตอบโจทย์นี้ และคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อื่นหรือท่านทั้งหลาย

คำถาม จากเว็บไซด์ของ วิชาการดอทคอม : “อยากทราบข้อมูล,โทษ,ประโยชน์ และวิธีป้องกันและรักษาของเชื้อรา Aspergillus fumigates

คำตอบ : จากผู้ใช้นามว่า “Nattawut1 



แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส (Aspergillus fumigatus2) เป็น ราจัดเป็นจุลินทรีย์ ในอาณาจักรฟังไจ (FUNGI)  มีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในธรรมชาติ ในการย่อยสลายอินทรีวัตถุ เพื่อนำแร่ธาตุต่าง ๆ กลับคืนสู่ธรรมชาติ  ราไม่มีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) จึงไม่สามารถสร้างอาหารเองได้  ราบางตัวยังสามารถผลิตสารประกอบที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม  เราสามารถแบ่ง รา ได้ดังนี้
  1. ราที่ดำรงชีวิตโดยการย่อยสลาย และดูดซึมสารอาหารจากซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้ว (Saprobes)
  2. ราบางกลุ่มดำรงชีพโดยการเกาะกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ (Parasites)
  3.  ราบางชนิดก็ก่อให้เกิดโรคได้ ทั้งโรคในคน สัตว์ และพืช (Pathogen)
โทษของแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส Aspergillus fumigatus
เชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส Aspergillus fumigatus อยู่ใน Kingdom : Animalia; Phylum: Ascomycota; Class: Eurotiomycetes; Order: Eurotiales; Family: Trichocomaceae; Genus: Aspergillus; Species: fumigatu

ปัจจุบันมีการทำจีโนมของเชื้อดังกล่าวเสร็จแล้ว และตีพิมพ์ในวารสาร Nature (Nierman WC et al; 2005). มีรายงาน ว่า เชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส Aspergillus fumigatus เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคระบบทางเดินหายใจ เราสามารถพบราดังกล่าวได้ทั่วไปและใกล้ตัวด้วย เช่น ในอากาศ กระถางปลูกต้นไม้ในบ้าน ปุ๋ย คอมพิวเตอร์ ฝาผนังห้อง เป็นต้น ราชนิดนี้ยังก่อให้เกิดโรคในพืชและสัตว์ได้อีกด้วย มีรายงานจาก นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (University of Manchester) พบว่ามีสปอร์ของราดังกล่าว นับล้านเซลล์ อยู่ที่หมอน และ ผ้าห่ม ที่ในห้องนอน เป็นจำนวนมาก มีความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าหมอนเป็นที่อยู่อาศัยของไรฝุ่นซึ่งกินราเป็นอาหาร  และอีกหนึ่งทฤษฎี คือ รา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ใช้มูลของไรฝุ่นเป็นแหล่งของไนโตรเจนและสารอาหาร

ในการแพทย์ แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส Aspergillus fumigatus ส่วนใหญ่ก่อให้เกิดโรค และเกิดอาการแอสเพอร์จิโลซิส (aspergillosis) ที่เป็นอาการการติดเชื้อ มีรายงานว่า มีการบุกรุกของแอสเปอร์จิลรัสได้ทั่วไปในปอดและไซนัส  นอกจากนี้ยังพบว่า มันสามารถบุกรุกเข้ามาที่อวัยวะอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น สมอง และมันยังสามารถแพร่กระจายไปยังผู้ป่วยกลุ่มอื่นได้อีกด้วย  การรักษานั้นเป็นเรื่องยาก โดยผู้ป่วย 1 ใน 25 คน จะตายในโรงพยาบาล  รวมทั้งให้ผลเสียต่อผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใช้  สารสเตียรอย์ด ผู้ป่วยลิวคีเมีย (leukaemia) ก่อให้เกิดความตาย ผู้ป่วยทำการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกไขสันหลัง และราแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ยังกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดในเด็กและผู้ใหญ่อีกด้วย ทำให้อาการหอบหืดแย่ลง

การกำจัดแบบง่าย ๆ และการป้องกัน 
การกำจัดเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส Aspergillus fumigatus ในบ้านที่ขึ้นตามเฟอนิเจอร์ ด้วยการควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมก่อนหน้าจะมีความชื้นสูง เช่น ช่วงหน้าฝน ทำสะอาดแล้วให้เช็ดด้วย ไฮเตอร์ชนิดน้ำ ผสมน้ำ 5 เท่าตัว เพื่อฆ่าเชื้อโรค (ไฮเตอร์คือคลอรีน หรือ สารละลายคลอรอกซ์ ผสมน้ำ) ส่วนใหญ่ที่มีเชื้อราขึ้นตามตู้เสื้อผ้าและใต้เตียง มักมาจาก ห้องที่ระบายอากาศไม่ดี  ให้ใช้ผ้าแห้งสะอาดถู ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง เปิดประตูทิ้งไว้สักพัก  ส่วนหมอน และเครื่องนอนต่าง ๆ ควร ทำความสะอาดอย่างน้อย 1 ครั้ง/อาทิตย์ เพื่อช่วยลดปริมาณของเชื้อรา

ประโยชน์ ราแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส (Aspergillus fumigatus)
ในอุตสาหกรรม มีการใช้เอนไซม์จากราดังกล่าว เช่น มาช่วยผลิตเอนไซม์ย่อยสลายเซลลูโลส และไซแลนจากวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรกรรม เป็นต้น  รวมทั้งผลิตเอนไซม์โปรติเอสด้วย  ส่วนในทางการแพทย์ มีรายงานว่า ราแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส สามารถผลิตยายาปฏิชีวนะ ที่มีชื่อว่า fumagillin เป็นสารที่ยับยั้ง bacteriophage หรือ เรียกว่า เชื้อไวรัสของ แบคทีเรีย และมีฤทธิ์ในการฆ่าอะมีบาได้ด้วย
-------------------
อ้างอิง :
1Nattawut Boonyuen  : Phylogenetics and Mycology LaboratoriesCentral Research Unit
BIOTEC, National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, Khlong Luang,
Pathum Thani, 12120, Email: Nattawut@biotec.or.th http://www.vcharkarn.com/va2/index.php/my/show/154
2 Aspergillus fumigatus is a fungus of the genus Aspergillus, and is one of the most common Aspergillus species to cause disease in individuals with an immunodeficienc  (แปลข้อมูลจากวิกิพีเดีย : แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส เป็นเชื้อราในสายพันธุ์ แอสเปอร์จิลลัส เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของแอสเปอร์จิลลัสที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภูมคุ้มกันบกพร่องในคน)

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

14 Q&A ที่ควรรู้ เพื่อควบคุมและป้องภัยจากเบาหวาน (ตอนที่ 2)

Q 10 : โรคเบาหวานมีกี่ชนิด หรือกี่ประเภท??
A 10 :  ใช้ตามองค์การอนามัยโลก คศ.1985  ซึ่งแบ่งตามลักษณะคลินิก ได้แก่ โรค
เบาหวานชนิดที่พึ่งอินซูลิน (IDDM), โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (NIDDM), โรค
เบาหวานที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางโภชนาการ (MRDM), และโรคเบาหวานที่มีสาเหตุ
อื่น ๆ  ซึ่งการจำแนกดังกล่าวพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ หรือไม่สามารถแยกกันได้ชัดเจน ในแง่ของพยาธิสรีรวิทยาในการเกิดโรค  การดำเนินโรค, การตอบสนองต่อการรักษา, และการป้องกันโรค  ดังนั้น สหพันธ์โรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1997 และองค์การอนามัยโลก ค.ศ.1998  จึงได้มีการจำแนกประเภทของโรคเบาหวานใหม่  ได้แก่

1.    โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1  (Type 1 DM)  เป็นเบาหวานที่พบได้น้อย (ประมาณร้อยละ 10) แต่มีความรุนและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง
มีสาเหตุมาจาก ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลย หรือได้น้อยมาก  
การรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ  และพบว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม




2.    โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2  (Type 2 DM) เป็นเบาหวานที่พบมากที่สุด (ประมาณร้อยละ 90) มักจะมีความรุนแรงน้อย ส่วนใหญ่พบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง
มีสาเหตุมาจาก ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่วมกับความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินของตับอ่อน ทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้ กลายเป็นเบาหวานได้ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะอ้วน ทำให้ดื้อต่ออินซูลิน แต่ในรายที่ไม่อ้วน มักจะมีไขมันที่พุงมาก เบาหวานชนิดนี้มักพบว่า มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมมากกว่าโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1  แต่มีรายละเอียดทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน และไม่ชัดเจน
การรักษา ใช้การควบคุมอาหาร ควบคู่ไปกับการใช้ยาเบาหวานชนิดรับประทาน จะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ บางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลิน ฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป จึงเรียกว่าเป็นเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
ปัญหาที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยมักไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก  เนื่องจากส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการผิดปกติ


3.    โรคเบาหวานชนิดอื่น ได้แก่ โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทราบชนิดที่ชัดเจน หรือมีสาเหตุมาโรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน การใช้ยาสเตียรอยด์ หรือสารเคมี และอื่น ๆ
4.    โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) หมายถึง โรคเบาหวานที่มีความผิดปกติของความทนต่อกลูโคส ที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์  พบว่ามีประมาณร้อยละ 4 ของหญิงมีครรภ์ เป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในการพัฒนาทั้งแม่และลูกน้อย



Q 11 : ทำไมถึงเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้องรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน??
A 11 :  ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน จะเป็นพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบหลอดเลือด ซึ่งเป็นเสมือนท่อส่งน้ำเลี้ยงของร่างกาย  ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีจะมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดด้วย โดยจะมีไขมันในเลือด และความดันโลหิตสูงกว่าปกติ  ทั้งระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และความดันโลหิตที่สูงมีผลต่อผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีการอักเสบ และมีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดทำให้ตีบ แคบลง หรืออาจตันไปในที่สุด  เลือดไม่สามารถผ่านไปยังอวัยวะต่างๆ ได้  จึงเกิดภาวะขาดเลือด ขาดสารอาหาร ขาดออกซิเจน ทำให้อวัยวะนั้น ๆ เสียหาย  เช่น ถ้าเกิดกับหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยก็จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย  ถ้าเกิดกับเส้นเลือดในสมอง ก็จะเกิดอาหารอัมพาต  ถ้าเกิดกับเส้นประสาท ก็จะทำให้เส้นประสาทเสื่อม โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า  ถ้าเกิดกับจอประสาทตาทำให้จอประสาทตาเสื่อม มีเลือดออก จอประสาทตาหลุดลอก ทำให้ตาบอด ถ้าเกิดกับเส้นเลือดที่ไต ทำให้ไตขาดเลือด ไตเสื่อม เป็นโรคไตวายในที่สุด
Q 12 : โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน มีกี่ประเภท??
A 12 : โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน มี ประเภท  ดังนี้


1.    โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
1.1         ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มากกว่า 250 mg/dl ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย หอบลึก ซึม หมดสติ  ส่วนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะเกิดอาการชักกระตุกเฉพาะที่ ซึมหมดสติได้ โดยเฉพาะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 600 mg/dl

                วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในสูง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระมัดระวังอาหารหวานจัด เมื่อมีอาการหิวน้ำบ่อย คอแห้ง ปัสสาวะบ่อยให้สงสัยว่าน้ำตาลในเลือดสูง ให้เจาะเลือดดูระดับน้ำตาล และไม่ดื่มน้ำหวานแก้อาการคอแห้ง
  • หากมีอาการ หิวน้ำบ่อย คอแห้ง ปัสสาวะบ่อย ให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ 
  • ไม่ควรขาดยาเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ห้ามขาดยาฉีดอินซูลิน เพราะขาดยาแม้เพียง 1 มื้อก็อาจเกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เลือดเป็นกรดได้

1.2         ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 mg/dl อาการขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดลดลงรวดเร็ว หรือไม่? ผู้ป่วยจะมีอาการตัวสั่น มือสั่น เหงื่อออก หวิวปวดศีรษะ มึนงง หมดสติได้ หากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย ๆ ผู้ป่วยอาจหมดสติโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าได้

                 วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารสม่ำเสมอและตรงเวลา ไม่ควรรับประทานอาหารช้า โดยเฉพาะผู้ที่ฉีดยาอินซูลิน
  • หากมีอาการตัวสั่น มือสั่น เหงื่อออก หวิวปวดศีรษะ มึนงง ให้เจาะเลือดดูระดับน้ำตาล หากน้อยกว่า 70 mg/dl  ให้รับประทานน้ำหวานเฮลท์บลูบอย 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 แก้ว หรือท็อฟฟี่ 3 เม็ด หรือส้ม 1 ผล ใดอย่างหนึ่ง ตามด้วยการรับประทานข้าว 1ทัพพี แต่ถ้าไม่มีเครื่องเจาะน้ำตาลอยู่ใกล้ตัว ก็สามารถแก้อาการน้ำตาลต่ำดังกล่าวไปก่อนด้วยวิธีข้างต้น
  • ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

2.    โรคแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เป็นระยะเวลานาน ๆ จนทำให้หลอดเลือดหนาตัว ทำให้เส้นเลือดตีบ และเกิดโรคร้ายแรงตามมา จากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดแดงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ได้แก่
2.1    ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy) เกิดหลอดเลือดที่ตาตีบลง จอประสาทตาขาดเลือด ร่างกายพยายามสร้างหลอดเลือดใหม่ทดแทน ซึ่งเส้นเลือดเหล่านี้เปราะแตกง่าย  ทำให้ผู้ป่วยตาบอดโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

2.2         ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy) เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่ไตมีความเปลี่ยนแปลงหนาตัวขึ้นและมีโปรตีนรั่วออกมา ทำให้ไตเสื่อมลงในที่สุด จนอาจนำไปสู่โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักเสียชีวิตภายใน ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ

2.3         โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) เมื่อเกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกาย  โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพ ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด  แต่หากเกิดอาการหลอดเลือดอุดตัน ก็จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย  ในผู้ป่วยเบาหวานบางราย ที่กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ  ซึ่งจะทำการรักษาทำได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ  ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติ ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่น อาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป  โดยที่บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ

2.4         โรคหลอดเลือดในสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้ป่วยเบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะเบาหวานทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกาย และถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมองก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีโอกาสเสี่ยงเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า อาการเบื้องต้นสังเกตได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใด หรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลัก   บ่อย ๆ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง
2.5         โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral vascular disease) เกิดขึ้นจากผนังหลอดเลือดด้านในมีความเสื่อม และหนาตัวขึ้นจากการเกิดคราบไขมันและหินปูน ที่ไปเกาะที่หลอดเลือด ทำให้รูของหลอดเลือดแดงแคบลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปอย่างลำบาก อาการขึ้นอยู่กับว่ามีการอุดตันที่ตำแหน่งใด และมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด หากเป็นในระยะแรก อาจมีอาการปวดน่อง ขา เวลาเดินไกลๆ 
 (Claudication) แต่ถ้ามีการอุดตันอย่างรุนแรงก็จะมีอาการปวดแม้ขณะนั่งอยู่เฉย ๆ นอกจากนี้ยังอาจพบปลายเท้าเย็น สีผิวหนังเปลี่ยนแปลงไป เช่นเป็นสีขาว ๆ ซีด ๆ บางครั้งกลายเป็นสีม่วงคล้ำ และหากเกิดบาดแผลที่เท้าจะเป็นแผลเรื้อรัง หายยาก มีโอกาสที่ต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้ง เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงและทำให้เกิดเนื้อตาย พบว่ามีเพียง ใน ของคนที่เป็นโรคนี้ ที่มีอาการชัดเจนจากการศึกษา ในคน 6,417 รายที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน ได้แก่ อายุมากกว่า 70 ปีคนเป็นเบาหวานที่อายุ 50-60 ปีคนที่สูบบุหรี่มากกว่า 10 ซองต่อปี
2.6         แผลเรื้อรังที่เท้าจากเบาหวาน (Diabetic ulcer) สาเหตุเกิดจากปลายประสาทเสื่อม มีการแข็งตัวและตีบตันของหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย  ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้  รวมถึงการมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาทเองด้วย จึงทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสื่อมลง การรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ลดลง โดยเฉพาะบริเวณปลายมือปลายเท้า จะเกิดอาการชา เมื่อกระทบถูกความร้อนหรือเจ็บปวดจะไม่ค่อยรู้สึก ทำให้เกิดแผลได้ง่ายโดยไม่รู้สึกตัว รวมทั้งมีภาวะติดเชื้อร่วมด้วย  นอกจากผู้ป่วยเบาหวานชายที่มีอาการปลายประสาทเสื่อมเป็นระยะเวลานาน มักพบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย

                 การดูแลเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  • ควรแช่เท้าในน้ำอุ่นอาทิตย์ละ ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที เพื่อกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัวเพื่อไปเลี้ยงปลายเท้า
  • ควรใช้โลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังทาเท้าทุกวัน เพื่อทำให้เท้าชุ่มชื้นอยู่เป็นประจำ ไม่ทำให้เกิดการแห้งแตก อันเป็นที่มาของแผลต่าง ๆ
  • ควรสวมถุงเท้าเป็นประจำ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่เท้า และป้องกันแผลที่เกิดจากการขีดข่วนต่าง ๆ
  • ควรหมั่นตรวจเท้าทุกวัน เพื่อดูแลความสะอาด ล้างเท้า และซอกนิ้ว ให้สะอาดด้วยสบู่ และซับให้แห้ง
  • การตัดเล็บ ควรตัดด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเล็บขบ ควรตัดเล็บในแนวตรง ๆ และอย่าให้สั้นชิดผิวหนังจนเกินไป ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
  • หลีกเลี่ยงการตัด ดึง หรือแกะหนังแข็ง ๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า
Q 13 : หลักโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีอะไรบ้าง??
A 13 : การบริโภคอาหารชนิดใดก็ตาม หลักสำคัญ คือ ต้องคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรท และกระจายการกินคาร์โบไฮเดรตออกไปตลอดทั้งวัน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลแกว่ง โดยยึดหลักดังนี้ 

  • กินมื้อหลักเป็นเวลา มื้อทุกวัน อาหารว่างมีได้แต่ต้องมีปริมาณน้อย ๆ
  • ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  • เพิ่มใยอาหารโดยเลือกรับประทานผัก ผลไม้ที่หลากหลาย
  • เลือกอาหารที่เพิ่มระดับน้ำตาลน้อย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง เป็นต้น
  • จำกัดอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไม่เกิน 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (เค้กคุกกี้โดนัท,     ไอศรีม ฯลฯ)
  • ลดอาหารประเภทไขมัน โดยใช้วิธีการต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง อบ ยำ เลี่ยงไขมันอิ่มตัว
  • ควบคุมปริมาณของมื้ออาหาร ที่มีไขมัน และเนื้อสัตว์
  •  จำกัดเนื้อสัตว์ มื้อละไม่เกิน ส่วน (ช้อนโต๊ะ หรือ 90 กรัม)
  • ศึกษาข้อมูลโภชนาการ การอ่านข้อมูลโภชนาการช่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถแลกเปลี่ยนโควต้าคาร์โบไฮเดรตที่จะต้องบริโภคกับขนมหวาน หรืออาหารต้องห้ามในอดีตของผู้เป็นเบาหวาน หรือการหาสัดส่วนของปริมาณอินซูลินกับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมในการควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย
  • เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้
Q 14 : เบาหวานแฝง คืออะไร??
A 14 : ผู้ที่เป็นเบาหวานแฝงคือผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้าผิดปกติ คือ มีระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้า 100 -125 มล./ดล. ซึ่งยังไม่เข้าเกณฑ์วินิจฉัยเบาหวาน  การเจาะเลือดควรเจาะเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง คนกลุ่มนี้มีบางส่วนที่เป็นเบาหวานแล้ว เพราะน้ำตาลหลังรับประทานอาหารจะสูง ก่อนที่ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารจะผิดปกติ ดังนั้น แนะนำว่าควรทำการตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส  (OGTT) ในคนกลุ่มนี้ เพื่อดูว่าเป็นเบาหวานไปแล้วหรือยัง ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาโดย the third National Health and Nutrition Examination Survey (NHNESIII) รายงานว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกิน อายุระหว่าง 45-74 ปี ประมาณ 12 ล้านคน มีภาวะเบาหวานแฝง และในอีก 5-6 ปีข้างหน้า ในจำนวนนี้ผู้ที่มีระดับน้ำตาลผิดปกติแต่ไม่เป็นเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 38-65  นอกจากนี้ ยังได้คาดการณ์ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 นั้นเป็นเบาหวานแฝงมา 5 ปีก่อนได้รับการวินิจฉัย

14 Q&A ที่ควรรู้ เพื่อควบคุมและป้องภัยจากเบาหวาน

พวกเราทุกคนรู้จักโรคเบาหวานกันแค่ไหน?? ลองมาทำความเข้าใจกันดูซิ !!

Q 1 : ทำไมถึงเรียกว่า โรคเบาหวาน หรือ Diabetes Mellitus ??
A 1 :  โรคเบาหวาน มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คำว่า “Diabetes” หมายถึง น้ำพุ ส่วนคำว่า “Mellitus”  หมายถึง น้ำผึ้ง เมื่อรวมแล้วคำว่า Diabetes Mellitus  จึงมีความหมายว่า “น้ำพุแห่งน้ำผึ้ง”  คำว่า น้ำผึ้งในที่นี้คงใช้เป็นตัวแทนแห่งความหวาน  ความหวานที่เหลือล้น และพวยพุ่งออกมาอย่างมากมาย จนยากที่เราจะหยุดยั้งได้นั่นเอง  ทั้งนี้ เนื่องจากโรคเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  ร่างกายจึงต้องขับถ่ายน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะมาก  และปัสสาวะหวาน หรือปัสสาวะมีมดตอม ซึ่งในอดีตเรียกอาการของโรคนี้ว่า “โรคปัสสาวะหวาน”

Q 2 : โรคเบาหวานนี้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค หรือความรุนแรงของอุบัติการณ์เพียงใด?!
A 2 :  ความชุกโรคเบาหวาน อัตราการระหว่างปี 1990 (2533) ถึง 1995 (2538) ศูนย์อเมริกันเพื่อการควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้ประกาศว่า  การแพร่ระบาดโรคเบาหวานทั่วโลกมีมากกว่า 285 ล้านคน  ในจำนวนนี้มี 90% ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และคาดว่าในปี  2030 (2573) จะมีผู้ที่ต้องต่อสู้กับโรคเบาหวาน ทั่วโลก 438 ล้านคน และโรคเบาหวานยังเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลในเอเชีย ประเทศจีนมีจำนวนกว่า 90 ล้านคน และในอินเดียมี 50 ล้านคน  ปัจจุบันเป็นสาเหตุการตาย อันดับที่ 4 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก
สถานการณ์เบาหวานในประเทศไทย จากการประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ของสำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (www.hiso.or.th) รายงานเมื่อเดือนมกราคม ปี 2549 พบว่า ประเทศไทย ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานปีละ 2 หมื่นคน ความชุกของโรคเบาหวานในประชาชนชาวไทย อายุ 35 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 9.6 (ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน จึงสูญเสียโอกาสในการป้องกันและรักษา)
จากการสำรวจสภาวะสุขอนามัยของประชาชน ด้วยการตรวจร่างกายพบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 2.3 ในปี พ.ศ. 2534 เป็นร้อยละ 4.6 ในปี พ.ศ. 2539 และมีเพียง 48% ที่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นเบาหวาน และมีเพียง 17.6% ที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

Q 3 : การรณรงค์ป้องกันโรคเบาหวานโลก และประเทศไทย มีแนวทางอย่างไรบ้าง?
A 3 : องค์การอนามัยโลกและสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) รวมทั้งองค์การสหประชาชาติได้มีมติรับโลกเบาหวาน เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลก และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมกันดำเนินการควบคุมและรับมือกับโรคเบาหวาน  โดยได้กำหนดประเด็น (theme) การรณรงค์วันเบาหวานโลก ในช่วง 5 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2556 คือ “Diabetes Education and Prevention”  หรือ “การให้ความรู้และป้องกันโรคเบาหวาน” 
สาหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ได้กำหนดคาขวัญวันเบาหวานโลก ปี พ.ศ. 2554 ที่ใช้ในการรณรงค์ คือรวมพลัง ลดเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานเพื่อสร้างกระแสตื่นตัวให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามจากโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจถึงสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

Q 4 :  สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากอะไร?
A 4 :  สาเหตุโรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้ในยามปกติ มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน แต่เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ หรือมีพอแต่ใช้ไม่ได้ (ภาวะดื้ออินซูลิน หรือต้านอินซูลิน) น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ  เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน



โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ มักเป็นกันทั้งครอบครัว พ่อแม่ หรือญาติพี่น้อง ก็มักเป็นโรคนี้ด้วย  นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุอย่างอื่น เช่นได้แก่ อ้วนเกินไป, เกิดจากการใช้ยาบางตัว เช่น สเตอรอยด์, ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย, โรค Pheochromocytoma (เนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง) โรคคุชชิง เป็นต้น


Q 5 : อาการบ่งชี้เบื้องต้นที่แสดงออกให้เห็นว่า เป็นโรคเบาหวาน และกลุ่มที่เสียงต่อการเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง ??
A 5 :  อาการเบื้องต้น ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย, หิวน้ำ ดื่มน้ำบ่อย, กินจุ แต่น้ำหนักลด, อ่อนเพลีย, เป็นแผลหายยาก  ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ ควรสงสัยว่าเป็นเบาหวาน จึงควรไปเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาล ในสถานพยาบาล และควรได้รับการตรวจเลือดอีกหนึ่งครั้งในวันอื่น หากพบค่าผิดปกติ 2 ค่า จึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากนี้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่
1)  พ่อ แม่ พี่ น้อง ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 
2)  อ้วน, อ้วนลงพุง (โดยผู้หญิง มีรอบพุง มากกว่า/หรือเท่ากับ 80 ซม., ผู้ชาย มีรอบพุง มากกว่า/หรือเท่ากับ 90 ซม.
3)   มีความดันโลหิตสูง มากกว่า/หรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท หรือได้ใช้ยาลดความดันโลหิต
4)  ไขมันไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า/หรือเท่ากับ 250 มก./ดล. และไขมันคอเลสเตอ
     รอลดี (HDL) มีค่าน้อยกว่า 250 มก./ดล.
5)  มีประวัติเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ บุตรแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม
6)  ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ หลอดเลือดที่มาเลี้ยงขาหรือเท้าตีบ มีถุงน้ำหลายถุงที่รังไข่
*อาการเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสียงสูง ให้รีบตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด และพบว่าระดับพลาสมากลูโคสขณะอดอาหาร มีค่าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป ถือว่าท่านเป็นเบาหวาน

Q 6 : การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวิเคราะห์โรคเบาหวาน มีวิธีการอย่างไร?
A 6 : การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ให้ตรวจในเวลาเช้าหลังอดอาหารข้ามคืน มาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose, FPG)  ค่า FPG จะเป็นตัวบ่งบอกว่า ท่านเป็นโรคเบาหวานแล้วหรือยัง?

ระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) มิลลิกรัม/เดซิลิตร
นคนปกติ  มีค่า FPG  70 – 99 มก./ดล.
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน  มีค่า FPG อยู่ระหว่าง 100 – 125 มก./ดล.
ผูป่วยเบาหวาน  มีค่า FPG  มากกว่า/หรือเท่ากับ  126 มก./ดล.

Q 7 : น้ำตาลที่อยู่ในเลือด มาจากไหน ?
A 7 : เมื่อเรารับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท เช่น ข้าว ก๊วยเตี๋ยว ขนมปัง มันฝรั่ง ขนมหวาน น้ำหวาน อาหารเหล่านี้ จะถูกย่อยจนเป็นน้ำตาลที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย  หากเรารับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทมากเกินความจำเป็นของร่างกาย น้ำตาลส่วนเกินเหล่านี้จะถูกแปรสภาพไขมันสะสมในตับ หรือเป็นไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สะสมตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย  และการที่ร่างกายจะนำน้ำตาลเหล่านี้ไปใช้เป็นพลังงาน หรือเก็บสะสมไว้ในร่างกายได้ จำเป็นต้องอาศัยฮอร์โมนที่สำคัญ เรียกว่า “อินซูลิน”  ซึ่งมาจากตับอ่อน

Q 8 :  การทำงานของ อินซูลิน และ ตับอ่อน มีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง??
A 8 :  ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องท้อง วางตัวอยู่ใต้ลิ้นปี่ ด้านหลังของลำไส้เล็กและกระเพาะอาหาร  มีหน้าที่สำคัญคือ สร้างน้ำย่อย (pancreatic juice) เพื่อช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน นอกจากนี้ ตับอ่อนยังมีบทบาทในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) และกลูคากอน (glucagon) ออกสู่กระแสเลือด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเกี่ยวกับขบวนการเผาผลาญโดยเฉพาะน้ำตาลของร่างกายมนุษย์

อินซูลิน (Insulin) คือฮอร์โมน ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณกลูโคสในเลือด นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นสื่อนำน้ำตาลกลูโคสเข้าไปในเซลส์  เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย  ในคนปกติแม้ไม่ได้รับประทานอาหาร ตับยังคงมีการสร้างน้ำตาล เพื่อใช้เป็นพลังงานของสมองและอวัยวะอื่น ทำให้มีการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนระดับต่ำ ๆ อยู่ตลอดเวลา หลังการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว และแป้ง จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสในลำไส้เล็ก และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นใน
เลือดจะเป็นตัวกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพิ่มขึ้น เพื่อเผาผลาญน้ำตาลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ

ดังนั้น หากร่างกายมีปริมาณอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้อินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ น้ำตาลกลูโคสจะไม่สามารถผ่านเข้าไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ ทำให้มีระดับน้ำกลูโคสในกระแสเลือดสูงขึ้น และสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน




Q 9 : การควบคุม หรือป้องกันโรคเบาหวาน มีวิธีการอย่างไร?
A 9 : การควบคุมโรคเบาหวาน ประกอบด้วย
1. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
2. การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
3. การควบคุมความดันโลหิต
4. การควบคุมระดับไขมันในเลือด
5. งดสูบบุหรี่

เกณฑ์การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
-  ระดับน้ำตาลในเลือดเวลาเช้า หลังอดอาหารมาอย่างน้อย ชั่วโมง = 70-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
-  ระดับน้ำตาลในเลือด หลังมื้ออาหาร 2 ชั่วโมง ควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร
-  ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1c) ควรน้อยกว่า 7 %

เกณฑ์การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
วัดจากค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI) ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณจากน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูงเป็นเมตรสองครั้ง จะบอกถึงน้ำหนักตัวที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
ดัชนีมวลกาย (กิโลกรัม/ตารางเมตร)
-  คนปกติ                   มีค่า BMI  = 18.5 – 22.9
-  ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน     มีค่า BMI มากกว่า/หรือเท่ากับ 23 – 24.9
-  คนอ้วน                   มีค่า BMI มากกว่า/หรือเท่ากับ 25
*ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน จะทำให้มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือ อินซูลินออกฤทธิ์ไม่ได้ตามปกติ หลังจากที่ลดน้ำหนักตัวลงแล้ว อินซูลินในร่างกายจะออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

การควบคุมความดันโลหิต
ผู้ที่เพิ่งทราบว่าเป็นโรคเบาหวานพบว่า มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยได้ถึงร้อยละ 30–40
-  การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ คือค่าความดันโลหิตตัวบนควรมีค่าต่ำกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างควรมีค่าต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท จะช่วยทำให้การทำงานของไตดีขึ้น

การควบคุมระดับไขมันในเลือด
ผู้เป็นโรคเบาหวาน จะมีความผิดปกติของไขมัน คือ มีไตรกลีเซอไรด์สูง ไขมันไม่ดี (LDL) สูง ไขมันดี (HDL) ต่ำ ทำให้เพิ่มความสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ การควบคุมระดับไขมันในเลือดในผู้เป็นโรคเบาหวาน จึงเป็นสิ่งที่ควรทำให้ได้ ตามเกณฑ์ดังนี้
 เกณฑ์ควบคุมระดับไขมันในผู้ป่วยเบาหวาน
-  ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์  น้อยกว่า  150 มล./ดล.
-  ระดับไขมันไม่ดี (LDL) น้อยกว่า  100 มล./ดล. (และให้น้อยกว่า 70 มล./ดล. ในผู้ที่โรคหัวใจร่วมด้วย)
-  ระดับไขมันดี (HDL)  สูงกว่า 40 มล./ดล. (ผู้ชาย),  สูงกว่า 50 มล./ดล. (ผู้หญิง)

งดสูบบุหรี่
-  การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว และเกิดหลอดเลือดแดงตีบตันได้ง่ายขึ้น  ดังนั้น ผู้เป็นโรคเบาหวาน จึงควรงดสูบบุหรี่