วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฮับบาตุซเซาดะฮ์ รักษาอาการปัสสาวะรดที่นอนในเด็กสาว ได้หรือไม่??


ลูกค้าของ KAMIL รายหนึ่ง ได้นำปัญหาความกังวลของเพื่อนมาปรึกษา เนื่องจากเพื่อนของเธอมีลูกอยู่ในวัยสาวแล้ว แต่ยังคงฉี่รดที่นอนอยู่ เธอจึงได้พาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คทุกระบบในร่างกายแล้ว ไม่พบสาเหตุของความผิดปกติทางกายแต่อย่างใด  จึงได้สอบถามว่า ฮับบาตุซเซาดะฮ์สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้หรือไม่??
KAMIL HATUSSAUDA จึงได้ค้นหาข้อมูลเรื่องดังกล่าว และได้พบบทความทางวิชาการหนึ่ง ที่กล่าวไว้ชัดเจนและครอบคลุมในหลายด้าน ๆ ของสาเหตุแห่งปัญหา เขียนโดย ผศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สวงนศรี (เว็บไซด์ : ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย) จึงขอสรุปประเด็นที่สำคัญมานำเสนอ ดังนี้

 Enuresis หมายถึง อาการปัสสาวะรดที่นอน หรือเสื้อผ้าที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลานานอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน ในเด็กที่อายุมากกว่า 5 ปีหรือมีพัฒนาการเทียบเท่าแล้ว โดยไม่ได้เกิดจากผลทางสรีรวิทยาโดยตรงของสาร (เช่น ยาขับปัสสาวะ) หรือภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น การติดเชื้อ หรือความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ, เบาหวาน เป็นต้น)

Enuresis หรืออาการปัสสาวะรดที่นอน จำแนกเป็น 2 ระดับ
1. Primary enuresis หมายถึง ผู้ป่วยยังไม่เคยหยุดปัสสาวะรดได้ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอเลย
2. Secondary enuresis หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะรดอีกหลังจากเลิกปัสสาวะรดแล้วอย่างน้อย 6-12 เดือน

ระบาดวิทยา enuresis ในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ พบว่ามีร้อยละ 1  โดยเพศชายมีมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า โดยผู้ป่วยมีโอกาสหายได้เองร้อยละ 15 ต่อปี และพบว่าร้อยละ 75-85 ของผู้ป่วยเป็น primary enuresis

การวินิจฉัยแยกโรค enuresis พบว่ามีเพียงร้อยละ 1 ของผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอน โดยมีสาเหตุมาจากโรคทางกายต่าง ๆ  ซึ่งอาการที่บ่งชี้ ได้แก่ อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางวัน ปัสสาวะลำบาก แสบขัด และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น

สาเหตุของโรค
1. พันธุกรรม เด็กที่พ่อหรือแม่มีประวัติ enuresis มีโอกาสเป็น enuresis ร้อยละ 44 และเด็กที่ทั้งพ่อและแม่มีประวัติ enuresis มีโอกาสสูงถึงร้อยละ 77
2. พัฒนาการล่าช้า ของกลไกควบคุมการปัสสาวะ ซึ่งอาศัยพัฒนาการของทั้งระบบประสาทอัตโนมัติ (sympathetic , parasympathetic) และ somatic nerve ที่ทำงานประสานกัน  (ในพัฒนาการปกติเด็กทั่วไปสามารถควบคุมการปัสสาวะตอนกลางคืนได้เมื่ออายุ 3 ปี)  ดังนั้น จึงพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะได้ และมักจะมีพัฒนาการทางเพศช้ากว่าเด็กปกติ
3. การหลั่งฮอร์โมน arginine vasopressin (AVP) ผิดปกติ มีการศึกษาที่พบว่าผู้ป่วย enuresis มีการหลั่งฮอร์โมน AVP ในเวลากลางคืนน้อยกว่าเด็กปกติ
**arginine vasopressin (AVP) เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของไต มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของน้ำ,น้ำตาล, และเกลือในเลือด
4. การนอนผิดปกติ จากผลการศึกษาพบว่าเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการนอน นอกจากนี้ยังพบว่า enuresis สัมพันธ์กับ sleep apnea syndrome (การหยุดหายใจในขณะหลับ) และ narcolepsy (ซึ่งเป็นทางระบบประสาทเกี่ยวกับการนอน ที่ไม่เกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตหรือปัญหาด้านจิตใจ) ด้วย
5. ปัจจัยด้านจิตสังคม เด็กที่เป็น enuresis ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม แต่ก็พบว่าเป็นโรคทางจิตเวชอื่นมากกว่าเด็กทั่วไป  บางคนอาจมีปัญหาด้านอารมณ์ หรือพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากอาการปัสสาวะรดที่นอนมากกว่าเป็นสาเหตุ  
( ( ( มีผู้อธิบายว่า enuresis เป็นการต่อต้านพ่อแม่ที่ฝึกขับถ่ายปัสสาวะด้วยความรุนแรง หรือการฝึกเร็วเกินไป หรือแสดงถึงพฤติกรรมที่เป็นเด็กกว่าวัยจากการเลี้ยงดูอย่างปกป้องและตามใจมากเกินไป และผู้ป่วยที่เป็น secondary enuresis มักเกิดภายหลังมีเรื่องตึงเครียด เช่น การหย่าร้างของพ่อแม่ ปัญหาเรื่องโรงเรียน การรักษาในโรงพยาบาล และการถูกละเมิดทางเพศ เป็นต้น ) ) )

แนวทางการรักษา
1. การให้ความรู้และคำแนะนำ  โดยเน้นว่า enuresis เป็นภาวะที่พบได้บ่อย มีโอกาสหายได้เองสูง ไม่ได้เป็นความผิดของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยก็ไม่ได้ต้องการปัสสาวะรดที่นอนเช่นเดียวกัน แต่ไม่สามารถควบคุมได้จริง ๆ  ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการลงโทษโดยไม่เหมาะสม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านจิตใจที่เป็นสาเหตุ แต่อาจเป็นผลตามมาจากการปัสสาวะรดที่นอน ได้แก่ ความรู้สึกอับอาย ขาดความมั่นใจ self-esteem ต่ำ วิตกกังวล และปัญหาด้านสังคม เป็นต้น  โดยคำแนะนำในการรักษาโดยทั่วไปประกอบด้วย
1.1 การจูงใจให้ผู้ป่วยต้องการควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนด้วยตนเอง ด้วยการพูดถึงผลดีที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่น พ่อแม่รู้สึกยินดีที่ผู้ป่วยสามารถไปนอนนอกบ้าน หรือเข้าค่ายกับเพื่อนได้โดยไม่ต้องกังวลใจ รวมทั้งความรู้สึกมั่นใจในตนเอง เป็นต้น
1.2  งดอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลา 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ จะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น น้ำอัดลมบางชนิด และชาเขียว เป็นต้น
1.3 ให้ปัสสาวะก่อนเข้านอนทุกคืน
1.4  เน้นให้การฝึกควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนเป็นความรับผิดชอบของผู้ป่วยเอง  ตั้งแต่ให้ผู้ป่วยบันทึกอาการปัสสาวะรดที่นอนด้วยตนเอง ลุกขึ้นมาปัสสาวะเองถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะ และให้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนหรือทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอน ผู้ป่วยบางคนปัสสาวะรดที่นอนลดลงมากหลังจากให้เริ่มบันทึกอาการด้วยตนเอง
1.5  งดการปลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยหยุดปัสสาวะรดที่นอนได้ช้ากว่าไม่ปลุก และมักทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่และผู้ป่วยมากกว่า
1.6  ใช้หลักพฤติกรรมบำบัด คือให้แรงเสริมทางบวก (positive reinforcement) เมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนได้  โดยใช้วิธีทำ star chart คือ ให้ผู้ป่วยติดสติกเกอร์รูปที่ตนเองชอบลงบนปฏิทินในวันที่ไม่ปัสสาวะรดที่นอน  และพ่อแม่อาจให้รางวัลด้วยการพูดชมเชย ของเล่น หรือสิทธิประโยชน์บางอย่าง เป็นต้น พ่อแม่ต้องช่วยติดตามการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ และพิจารณาให้รางวัลที่มีคุณค่ามากขึ้นถ้าผู้ป่วยควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนได้มากขึ้นในแต่ละสัปดาห์ที่ผ่านไป

**ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุมากกว่า 7-8 ปีแล้วยังไม่หยุดปัสสาวะรดที่นอน ควรพิจารณาให้การรักษาที่เจาะจงต่อไป ได้แก่
2. Enuresis alarm เป็นการรักษาที่อาศัยพื้นฐานความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้แบบ classical conditioning คือเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ผู้ป่วยตื่นนอนทุกครั้งเมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็ม เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลมากที่สุด พบว่าร้อยละ 60-90 ของผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำร้อยละ 15-40  การรักษาโดยใช้ enuresis alarm ต้องมีการทำบันทึกข้อตกลง การให้คำแนะนำ และการติดตามใกล้ชิดร่วมด้วย รวมทั้งการใช้ต่ออีกระยะหนึ่งหลังจากหยุดปัสสาวะรดแล้วจึงได้ผลดี เป็นวิธีการรักษาที่แนะนำให้เลือกใช้เป็นลำดับแรกก่อนการรักษาด้วยยา
3. การรักษาด้วยยา
4. จิตบำบัด ผู้ป่วยทุกคนควรได้รับการประคับประคองด้านจิตใจ ข้อบ่งชี้สำหรับการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด คือ มีสาเหตุเกิดจากปัจจัยด้านจิตใจเป็นสำคัญ เช่น ปัญหาการเลี้ยงดู การฝึกขับถ่ายปัสสาวะ มีความเครียดหรือมีความขัดแย้งรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น

คำตอบ จาก KAMIL HABBATUSSAUDA
จากบทความวิชาการข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาเรื่องการฉี่รดที่นอนในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่นั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคทางกาย (มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น)  ซึ่งสรุปสาเหตุที่มาของอาการดังกล่าวได้หลายประการ เช่น จากพันธุกรรม การพัฒนาการที่ล่าช้าของระบบประสาทอัตโนมัติ การหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ ความผิดปกติทางระบบประสาทของการนอน และปัญหาทางด้านจิตสังคม

KAMIL จึงเห็นว่า แนวทางแก้ไข คือการให้ความเข้าใจ การดูแลและให้กำลังใจของพ่อแม่ และการฝึกฝนปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่ช่วยระบบขับถ่ายปัสสาวะกลับมาเป็นปกติ 
ในส่วนที่มีสาเหตุมาจากระบบประสาทที่ทำให้ให้การนอนผิดปกติ หรือการหลั่งฮอร์โมนที่ล่าช้า ไม่เพียงพอนั้น  KAMIL HABBATUSSAUDA สามารถรักษาเยียวยาอาการดังกล่าวได้  เนื่องน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ มีคุณสมบัติในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและการนอนไม่หลับ  เช่น โรคนอนไม่หลับ (insomnia)  อีกทั้งยังประกอบด้วย แอล-อาร์จินีน (L-Arginine) กรดอะมิโน ที่ถือว่าเป็น "โมเลกุลมหัศจรรย์" มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมหาศาล ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่สร้างความเจริญเติบโตในวัยเด็กหรือวัยรุ่นได้อย่างสมวัย (ในวัยสูงอายุ ช่วยฟื้นคืนความหนุ่มสาวให้แก่ร่างกาย) เนื่องจากช่วยทำให้ร่างกายนอนหลับสนิท และได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ  นอกจากนี้ สารอาหารกว่า 100 ชนิด ในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ จะทำหน้าที่ร่วมกันแบบองค์รวม เพื่อเข้าปรับสมดุลของระบบกลไกการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายให้สมบูรณ์  จึงทำให้ผู้บริโภคมีร่างกายสุขภาพร่างกายแข็งแรง หายจากอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ และมีภูมิต้านทานโรคได้เป็นอย่างดีค่ะ / ด้วยรักและห่วงใจ จาก KAMIL Habbatussauda 

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)


อาการนอนไม่หลับ ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่หลาย ๆ คน คงเคยมีประสบการณ์ แต่ในบางคนอาการนอนไม่หลับ มีอาการรุนแรงและยาวนาน จนถึงขั้นเป็น "โรคนอนไม่หลับ" ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

ในผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยควรนอนให้ได้ประมาณ 7-8 ชม. โดยให้สังเกตว่าตราบใดที่ตื่นนอนขึ้นมาแล้วมีความสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย สมองแจ่มใส ทำงานได้ดีตามปกติ ไม่ง่วง
หวาวหาวนอน มีการตัดสินใจแก้ปัญหาได้ดี ถือว่าได้นอนเพียงพอแล้ว ซึ่งบางคนอาจจะนอนเพียง 5-6 ชม. เท่านั้น
  
อาการนอนไม่หลับ มีหลายรูปแบบ เช่น เข้านอนแล้วหลับยาก, ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ หรือตื่นเช้ามืดกว่าปกติแล้วหลับต่อไม่ได้ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ  ทำให้ผู้ที่นอนไม่หลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มักจะมีอาการอ่อนเพลียในตอนกลางวัน สมองไม่ปลอดโปร่ง อาจจะหงุดหงิด ง่วงซึม หรือหลับมากในตอนกลางวัน ประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงานลดลง

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ มีดังนี้
1. สาเหตุทางด้านจิตใจ
ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นทำให้นอนไม่หลับได้บ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว การงาน เศรษฐกิจ หรือครอบครัว  ในบางรายมีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับได้ง่าย เช่น เป็นคนชอบคิดมากคิดเล็กคิดน้อย หรือร่างกายไวหรือตื่นตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้เร็ว เช่น ได้ยินเสียงอะไรเล็กน้อยก็จะรู้สึกตัวตื่นอยู่เรื่อย ๆ

2. ความเจ็บป่วยทางจิตเวช
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มักจะนอนไม่หลับ โดยเฉพาะหลับแล้วตื่นขึ้นมากลางดึก จะทำให้หลับต่อยาก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนที่มีภาวะโรคซึมเศร้า  นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีความรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ใจคอที่หดหู่ เศร้าหมอง ไม่เบิกบาน ไม่สดชื่น ความคิดช้า ความจำไม่ค่อยดี ใจจดใจจ่ออะไรนาน ๆ ไม่ได้ มักมีเบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย  สาเหตุของอาการเหล่านี้  ส่งให้เกิดความผิดปกติของการนอนหลับ
โรควิตกกังวลชนิด somatized tension พบได้บ่อยที่เป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ

3. ความเจ็บป่วยทางกาย
อาการปวด ได้แก่ อาการปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดจากสาเหตุอื่นใดก็ตามที่รบกวนคุณภาพและประสิทธิภาพการนอนหลับอย่างมาก

โรคในกลุ่มอาการที่ทำให้เกิดความผิดปกติในขณะหลับ เช่น
  • หยุดหายใจเป็นพักๆ ในขณะหลับ ทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นพัก ๆ อาจรู้สึกได้ว่าคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดีพอ หลับได้ไม่ลึก ไม่สดชื่น อาการหยุดหายใจจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจหลายสิบครั้งจนกระทั่งถึงหลายร้อยครั้งได้ในแต่ละคืน
  • อาการขากระตุกเป็นพัก ๆ ระหว่างหลับ ในบางรายจะพบว่าในขณะที่หลับนั้น กล้ามเนื้อที่ขาจะมีอาการกระตุกเร็ว ๆ เป็นพัก ๆ ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะประมาณทุก ๆ 30-45 วินาที และอาจจะต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หลายรอบต่อคืน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ จะทำให้สมองตื่นเป็นพัก ๆ โดยที่ผู้นั้นอาจไม่รู้สึกตัวตื่น แต่ในตอนตื่นเช้าจะรู้สึกว่าคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดี

 4. รูปแบบการใช้ชีวิต
เวลาการเข้านอน หลายคนมักเข้านอนไม่เป็นเวลา และแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคืน รวมถึงคนที่ต้องทำงานเป็นกะด้วย อาจจะทำให้มีผลต่อการนอน การปรับเวลาเข้านอน-ตื่นนอนให้สม่ำเสมอ จะช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้

การใช้สารเสพติดหลายชนิดมีฤทธิ์กระตุ้นสมอง มีผลต่อการนอนหลับ โดยความไวของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นกับโปรตีนตัวรับในสมอง เช่น
  • กาแฟ มีคาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นสมอง ทำให้มีผลต่อการนอนหลับ โดยพบว่าจะหลับได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการดื่มกาแฟใกล้เวลาเข้านอน
  • สารนิโคตินในบุหรี่ ออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่บ่อย มักมีปัญหาหลับได้ยากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • เครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ การดื่มก่อนนอนอาจช่วยทำให้ง่วงหรือรู้สึกหลับได้ง่ายขึ้น แต่ผลที่ตามมาหลังจากแอลกอฮอล์ถูกเผาผลาญในร่างกายประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังจากนั้น จะทำให้เกิดสารที่ไปรบกวนการนอนหลับ โดยมักจะหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับไม่ลึก ตลอดทั้งคืน

 ประเภทของโรคนอนไม่หลับ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
การนอนไม่หลับ แบบชั่วคราว : คือ นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์  ซึ่งหลายคนอาจจะเคยประสบกับปัญหาเหล่านี้  ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเครียด หรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง  เช่น ทะเลาะกับเพื่อนหรือแฟน, มีปัญหากับที่ทำงาน หรือใกล้ ๆ วันสอบ หรือวันที่ต้องมีธุระสำคัญ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน (

การนอนไม่หลับ แบบระยะต่อเนื่อง : คือ มีอาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้น  ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดนั้นยังไม่คลี่คลาย เช่น การตกงาน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว  ซึ่งโดยทั่วไปถ้าปัญหาต่าง ๆ ได้รับการคลี่คลาย การนอนหลับก็มักจะกลับมาเป็นปกติได้  

การนอนไม่หลับ แบบเรื้อรัง : คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ อย่างต่อเนื่องเกือบทุกคืน ติดต่อกันหลายเดือน หรือแม้กระทั่งเป็นปี  มีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซับซ้อน ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความเครียดเพียงอย่างเดียว จึงมีอาการนอนไม่หลับหลายครั้ง ถึงแม้ว่าความเครียดได้เบาบางหรือหายไปหมดแล้ว แต่อาการนอนไม่หลับก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อ บางคนใจจดใจจ่อตลอดเวลาว่า คืนนี้จะหลับหรือไม่??  ถ้าไม่หลับแล้วพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร?  จะทำงานได้อย่างแจ่มใสหรือไม่?  ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวการนอน ไม่กล้าที่จะนอน เลยทำให้แทนที่เวลานอนจะเป็นเวลาที่ให้ความสุข กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความทุกข์และทรมาน

สารอาหารที่ช่วยให้นอนหลับ
สารอาหารที่ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ ได้แก่ กลุ่มวิตามินบี และเกลือแร่ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม รวมทั้งกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายขาดอาจจะทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับ
  • ไนอะซิน (หรือวิตามินบี 3 มีโครงสร้างทางเคมีใกล้เคียงกับกรดอะมิโนทริปโตเฟน) ช่วยให้ระบบประสาททำงานเป็นปกติ ปัจจุบันได้นำมาใช้ในการป้องกันโรคซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ นอกจากนั้น ยังใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม รูมาตอยด์ ในผู้สูงอายุ
  • วิตามินบี 6 มีความสำคัญในการสร้างสารเซโรโทนินในสมอง สารตัวนี้ช่วยควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ ผู้ที่ได้รับวิตามินบี 6 จากอาหารไม่เพียงพอ อาจมีอาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า หงุดหงิด
  • วิตามินบี 12 ช่วยให้อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ดีขึ้น หากนำมาทานเป็นวิตามินเสริมอาหาร เมื่อหยุดทานอาการจะกลับมาอีก ดังนั้น จึงต้องทานในปริมาณสูงถึงจะช่วยแก้ไขอาการนอนไม่หลับได้ และจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  •  วิตามินบี 1 (หรือไทอามิน) เป็นวิตามินที่ร่างกานไม่สามารถสร้างได้เอง มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท
  • กรดโฟลิก (หรือวิตามินบี 9) ถ้าร่างกายขาดจะทำให้เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีอาการเครียด วิตกกังวล อารมณ์เสีย จึงเป็นสารอาหารที่ช่วยให้นอนหลับดีขึ้
  • แคลเซียม และแมกนีเซียม แร่ธาตุทั้งสองจะทำงานร่วมกัน ช่วยในการทำงานของระบบประสาท ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การขาดแร่ธาตุหนึ่งในสองตัวนี้จะทำให้เกิดตะคริว และรบกวนการทำงานของเส้นประสาท มีผลทำให้นอนไม่หลับ
  • ทองแดง และธาตุเหล็ก ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ถ้าขาดทองแดงจะทำให้หลับช้า แต่หลับนานขึ้นและมีความรู้สึกเหมือนนอนไม่อิ่ม ส่วนการขาดธาตุเหล็กทำให้นอนเร็วขึ้น นอนนานขึ้น แต่ตื่นกลางดึกบ่อยขึ้น
  • ทริปโตแฟน (เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นแก่ร่างกาย) ถูกนำมาใช้ในการสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งช่วยในการควบคุมการนอนหลับ และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของสารเมลาโทนิน ซึ่งมีผลต่ออารมณ์และการนอนหลับ นักวิจัยพบว่า การเสริมสารทริปโตแฟนช่วยเพิ่มระดับโซโรโทนินและทำให้นอนหลับเร็วขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ และยังทำให้หลับสนิทด้วย

 น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Black Seed Oil มีสารอาหารที่ช่วยให้นอนหลับ ดังกล่าวข้างต้นอย่างครบถ้วน จึงมีสรรพคุณในการรักษาอาการนอนไม่หลับ หรือโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น การเลือกใช้ KAMIL HABBATUSSAUDA รับประทานวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น มื้อละ 2-3 แคปซูล จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางเลือกหนึ่งในการรักษาและดูแลตนเอง

อาหารที่ช่วยให้นอนหลับ
1. เครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอน ประเภทมอลต์สกัด เช่น โอวัลติน หรือไมโล (ไม่ต้องหวานมาก)
2. เครื่องดื่มชาสมุนไพรต่าง เช่น มะตูม เก๊กฮวย เป็นต้น (ยกเว้น ในผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะบ่อย อาจทำให้ต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำ แล้วนอนต่อไม่หลับได้ง่าย ๆ)
3. นมชนิดหวานทำให้หลับได้ง่าย เพราะน้ำตาลจะช่วยทำให้เซลล์สมองดูดซึมกรดอะมิโน ทริปโตฟาน จากกระแสโลหิตไปเปลี่ยนเป็นสาร Serotonin เพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย 
4. อาหารจำพวกแป้ง โดยแป้งมีฤทธิ์คล้ายยาระงับความวิตกกังวล หรือทำให้กลูโคสในกระแสเลือดสูงขึ้น กระตุ้นการหลั่ง Serotonin (อาจเพิ่มน้ำหนักตัวด้วยเหมือนกัน)
 5. น้ำผึ้ง สามารถใช้เป็นยาระงับประสาทอ่อน ๆ ได้ โดยชงผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยในนมอุ่น ๆ หรือชาสมุนไพร

สรุป : การดื่มนมอุ่น ๆ 1 แก้ว ผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย แล้วใส่น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ 1 ช้อนชา หรือ KAMIL HABBATUSSAUDA 1 แคปซูล เป็นเครื่องดื่มก่อนนอน ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สูตรพอกหน้าใสด้วยโยเกิร์ตและ Black Seed Oil


วันนี้มีเคล็ดลับความงามมาฝากคุณสาว ๆ ที่รักความงามทุกท่านค่ะ

สูตรพอกหน้าสองพลัง สวยใส ไร้สิวฝ้า 
ด้วยโยเกิร์ต และน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์
Double Plus Face Mask with Yogurt & Black Seed Oil

โยเกิร์ต (yogurt) นอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของเราแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อผิวหน้าของเราอีกด้วยค่ะ  เนื่องจากในโยเกิร์ตประกอบด้วยนมสด ซึ่งมีวิตามินที่ช่วยประทินผิวให้ผุดผ่อง เนียนนุ่ม เกลี้ยงเกลา ไม่แห้งกร้าน อีกทั้งแลคโตบาซิลลัส (แบคทีเรียสุขภาพ) ช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เชื้อรา และเชื้อโรคต่าง ๆ

น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ black seed oil  มีองค์ประกอบของสารอาหารและวิตามินมากมาย เช่น วิตามิน B2 วิตามิน B3 เบต้าแคโรทีน ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ, ต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants), ลดเลือนริ้วรอย (anti-aging), ช่วยปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดด ป้องกันมะเร็งผิวหนัง  นอกจากนี้ สารพฤษเคมีที่อยู่ใน black seed oil ที่มีชื่อว่า Thymoquinone ยังมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา เช่น candida (ที่ทำให้ผิวเป็นด่างขาว) และเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน..  คุณจึงสามารถสวยใสจากภายในได้ ด้วยการรับประทานน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์เป็นประจำทุกวัน  และถ้าใครใจร้อนอยากใช้ทางด่วนหรือตัวช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสเร็วขึ้น  ก็สามารถใช้ดูแลผิวจากภายนอกได้เช่นกันค่ะ  

การพอกหน้าด้วยโยเกิร์ตและน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (black seed oil) จะช่วยชำระล้างเอาสิ่งสกปรก และมลพิษออกจากรูขุมขนของผิวเรา ช่วยลดความมัน กระชับรูขุมขน อีกทั้งน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ black seed oil จะช่วยผ่อนคลายเซลล์ผิว และในระหว่างที่เราพอกหน้า สารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์จะซึมซับลงสู่ผิวหน้าของเรา เพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ผิวหน้าสดชื่น นุ่มนวล อ่อนเยาว์ หน้าใสเป็นธรรมชาติ ยิ่งใครมีปัญหาสิวตุ่มเล็ก ๆ หรือสิวผด ก็ช่วยได้มาก ให้ทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือทำทุกวันได้ก็จะยิ่งดีค่ะ


 วิธีพอกหน้าสูตรสองพลัง
  1. โยเกิร์ตรสจืด (แบบ low fat น่าจะดีที่สุด) ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะค่ะ ไม่ต้องถึงขนาดใช้จนหมดกระปุก ส่วนที่เหลือรับประทานเข้าปากเข้าท้องเลยค่ะมีประโยชน์มาก ๆ
  2. น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ black seed oil ประมาณ 1 ช้อนชา  (ถ้าเป็นของ KAMIL ให้ใช้ 1 แคปซูล ก็พอค่ะ ใช้มากก็จะเปลือง)
  3. ถ้าใครผิวแห้ง หรือผิวผสม มีน้ำผึ้งอยู่จะนำมาใส่ด้วยสักนิดหน่อย ประมาณครึ่งช้อนชาก็ได้ค่ะ
  4. นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในถ้วย คนให้เข้ากันจนเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาพอกที่ใบหน้าค่ะ ก่อนพอกหน้าให้ล้างทำความสะอาดผิวหน้าให้เรียบร้อยซะก่อนนะคะ (สัดส่วนของส่วนผสมในข้อ 1-3 หลังจากลองทำดูแล้ว สามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มได้ตามความเหมาะสม และความชอบส่วนบุคคลค่ะ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว)
  5. ให้พอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที (ระหว่างรอจะเล่น facebook ก็ได้นะคะ หรือจะพักสายตางีบหลับสักครู่หนึ่ง แต่อย่าเผลอลืมล้างหน้ากันล่ะ) หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำอุ่น (ถ้าล้างด้วยน้ำอุ่นให้ตามด้วยน้ำเย็นปิดท้ายอีกครั้งนะคะ เพื่อปิดรูขุมขน)
  6. ล้างหน้าเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมทาครีมบำรุงผิวตามปกตินะคะ

ถ้าคุณสาวๆ ขยันทำบ่อยๆ รับรองผิวหน้าจะนุ่มนวล น่าสัมผัส ใสกิ๊ก ไร้สิวฝ้า เหมือนไปทำเบบี้เฟส มาเลยล่ะ... จุ๊ๆ.. ระวังจะมีคนแอบมาถามว่า “ทำไมสวยจัง..ไปทำอะไรมาจ๊ะ?”

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)


มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia/ลูคีเมีย) เป็นโรคมะเร็งของไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อในระบบโลหิตวิทยา โดยเกิดจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดในปริมาณผิดปกติ โดยทั่วไปจะสร้างในปริมาณสูงขึ้น แต่ผู้ป่วยบางรายปริมาณเม็ดเลือดขาวอาจปกติ หรือต่ำกว่าปกติได้ นอกจากนี้อาจพบว่า มีการทำงานที่ผิดปกติของเม็ดเลือดขาวด้วย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบ่งตามลักษณะของเม็ดเลือดออกเป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟซิติก (Lymphocytic leukemia) และชนิด มัยอีโลจีนัส (Myelogenous leukemia) และทั้งสองชนิดยังแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน (Acute) และชนิดเรื้อรัง (Chronic)


เป็นความผิดปกติที่เกิดในระยะที่เซลล์เม็ดเลือดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มักเกิดกับเซลล์ Lymphoblast หรือ Myeloblast เซลล์เหล่านี้จึงไม่สามารถพัฒนาต่อไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สมบูรณ์ได้ ร่างกายจึงขาด T-cell, B-Cell และ Natural Killer รวมทั้ง Granulocyte ชนิดต่างๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างมาก
นอกจากนี้ เซลล์เม็ดเลือดที่เป็นมะเร็งยังไปเบียดบังการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย มีเลือดออกผิดปกติ ติดเชื้อได้ง่ายและเสียชีวิตในเวลาอันสั้น


เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระยะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว พบมากในเซลล์ Granulocyte และ B lymphocyte ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะอย่าง แต่เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดอื่นๆ ยังทำงานได้อยู่ โรคจึงไม่แสดงอาการรุนแรงมากนัก ผู้ป่วยลูคีเมียส่วนใหญ่มักเป็นโรคลูคีเมียชนิดเรื้อรัง แบบ CLL ที่เกิดกับเซลล์ B lymphocyte หรือ ที่เรียกว่า B-cell
โดยปกติแล้วเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค รวมทั้งคอยตรวจสอบเซลล์ที่ผิดปกติ และทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดขาวผิดปกติเสียเอง ย้อนกลับมาทำร้ายร่างกายเสียเอง การรักษาเยียวยาจึงเป็นเรื่องยาก

ดังนั้น เราจึงพบมะเร็งเม็ดเลือดขาว ตามชนิดและลักษณะได้ 4 แบบ
  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (acute myeloid leukemia หรือ AML) พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ (acute lymphoid leukemia หรือ ALL) พบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี รวมถึงในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอีกด้วย
  3. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ (chronic myeloid leukemia หรือ CML) พบในผู้ใหญ่ ไม่ค่อยพบในเด็ก
  4. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบลิมฟอยด์ (chronic lymphocytic leukemia หรือ CLL) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี และสามารถพบในเด็กได้บ้าง แต่ไม่ค่อยส่งผลกระทบเท่าไหร่
มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีสาเหตุจากอะไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่การศึกษาระบุว่า น่าจะมาจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ พันธุกรรมผิดปกติหลายชนิดร่วมกัน หรืออาจจากได้รับรังสีชนิดต่าง ๆ ในปริมาณสูง เช่น จากอุบัติเหตุ โรงไฟฟ้าปรมาณู และบางการศึกษาพบว่า อาจจากติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสเฮชทีแอลวี (Human T-lymphotropic virus Type I หรือเรียกย่อว่า HTLV-1)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอาการอย่างไร?
อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากไขกระดูกปกติทำงานลดลง ได้แก่
  1. มื่อมีเม็ดเลือดขาวปกติลดลง ผู้ป่วยจะติดเชื้อได้ง่าย มักมีไข้สูง เป็นๆ หายๆ บ่อยกว่าคนทั่วไป เพราะเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ให้ภูมิคุ้มกันป้องกันโรค
  2. เมื่อมีเม็ดเลือดแดงลดลง จะเกิด ภาวะซีด อาการซีดทำให้เหนื่อยง่าย อาจบวมหน้า หรือเท้า และเมื่อซีดมากอาจเกิดโรคหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายได้
  3. เมื่อมีเกล็ดเลือดลดลง จะมีเลือดออกง่าย เช่น เลือดออกบ่อยขณะแปรงฟัน มีเลือดกำเดา และมีห้อเลือดง่าย และมีจุดเลือดออกตามตัวเล็ก ๆ แดง ๆ คล้ายจุดที่เกิดในไข้เลือดออก
มะเร็งเม็ดเลือดขาวรุนแรงไหม?
มะเร็งเม็ดเลือดขาว จัดเป็นมะเร็งมีความรุนแรงสูง ความรุนแรงของโรคขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น อายุ ชนิดของเซลล์มะเร็ง จำนวนเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดที่ตรวจครั้งแรก และการมีโรคแพร่กระจายเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นที่ไม่ใช่ไขกระดูก
รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างไร?
  1. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน โดยตัวยาและระยะเวลาในการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค
  2. การใช้รังสีรักษา มักจำกัดอยู่ในโรครุนแรงบางโรค เช่น การฉายรังสีบริเวณสมองในมะเร็งเม็ดเลือดขาว ALL และการฉายรังสีบริเวณม้ามในมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
  3. การปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งใช้ได้ผลในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด ในโรคกลุ่มรุนแรง โรคดื้อต่อยาเคมีบำบัด หรือเมื่อมีโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ
  4. ยารักษาตรงเป้า สามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิดได้ แต่ยายังมีราคาแพงมหาศาลเกินกว่าผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงยาได้

Credit : haamor.com, vcharkarn.com

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

KAMIL HABBATUSSAUDA รักษาโรคมะเร็งตับ


วันนี้มีประสบการณ์การใช้ KAMIL HABBATUSSAUDA (น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ black seed oil) จากลูกค้าที่ซื้อฮับบาตุซเซาดะฮ์ ของ KAMIL ไปรับประทาน มาแบ่งปันให้แก่ทุกท่านที่ติดตามเว็บบล็อกของเราค่ะ  โดยขอหยิบยกโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 1 ของประชากรในประเทศไทย ซึ่งครองอันดับ 1 มาเป็นเวลา 10 ปี นับย้อนขึ้นไปจากรายงานสถิติในปี พ.ศ. 2553  และจากสถิติพบว่า "มะเร็งตับ" เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับที่ 1 เช่นกันในจำนวนโรคมะเร็งทั้งหมด  
อัตราการตายด้วยโรคร้ายแรง 5 อันดับแรก (ปี 2543-2555)
อัตราการตายของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง (ปี 2543-2555)
“มะเร็งตับ” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. มะเร็งตับปฐมภูมิ เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในเนื้อตับจริง ๆ และยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ hepatocellular carcinoma หรือ hepatoma  อีกชนิดคือมะเร็งของเซลล์ท่อทางเดินน้ำดี ที่เรียกว่า cholangiocarcinoma (หรือ อาจเรียกว่า “มะเร็งท่อน้ำดี” เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำดี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ภาคอิสาณ ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีพยาธิใบไม้ในตับ มีนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต และปวดท้อง เป็นโรคที่สามารถมีอันตรายถึงตายได้อย่างรวดเร็วและไม่มีทางรักษา หากไม่สามารถตัดเนื้อมะเร็งออกให้หมดได้ ยังไม่มีการรักษาใด ๆ ที่มีโอกาสรักษาโรคให้หายได้นอกจากการผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็เป็นระยะที่โรคลุกลามไปมาก และไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมักได้รับการดูแลรักษาด้วยการให้เคมีบำบัด หรือรังสีรักษา  ซึ่งเป็นการรักษาแบบประคับประคอง   อัตราการรอดตายของผู้ป่วย คือ จะมีชีวิตอย่างน้อยห้าปีหลังตรวจพบมะเร็ง ทั้งนี้ ไม่รวมคนที่ตายจากโรคอื่น ๆ )

Cholangiocarcinoma
2. มะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากอวัยวะอื่นก่อน แล้วค่อยแพร่กระจายเข้าไปในตับ ซึ่งโดยมากก็จะเป็นจากลำไส้ ปอด เต้านม เป็นต้น
 
ส่วนที่หมอวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ หมายถึง กลุ่มแรกที่เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในตับโดยตรง ซึ่งมะเร็งทั้งสองชนิดในกลุ่มนี้ สามารถที่จะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้เช่นกัน และหากมีการแพร่กระจายแล้วก็ถือว่าเป็นระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้าย.. ดังนั้น โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้นยากมากค่ะ แทบเรียกได้ว่าไม่ค่อยจะมี...แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนไข้จะต้องเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรอยโรคในตับว่ามันรุนแรงแค่ไหน??  และสาเหตุที่คนไข้จะเสียชีวิตมักจะเกิดจากภาวะตับวาย คือมีรอยโรคในตับที่มากจนตับที่เหลืออยู่น้อยมาก จนตับทำงานไม่ไหวนั่นเอง  มักจะไม่ได้เสียชีวิตจากรอยโรคที่อื่น....วิธีการรักษา จึงมีเพียงจุดมุ่งหมายในการประคับประคองเท่านั้น  เพื่อลดความเจ็บปวดทรมานและให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ประสบการณ์จากผู้ใช้ KAMIL HABBATUSSAUDA  
คุณยายคนหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ อายุประมาณ 70 กว่าปี ป่วยด้วยโรค “มะเร็งตับ ระยะที่ 4 ลูกสาวของคุณยาย มิได้ให้คุณยายบำบัดรักษาความเจ็บป่วยด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน  อาจเป็นไปได้ว่า เธอคงศึกษาวิธีการรักษามาแล้วว่า ไม่ได้ช่วยให้คุณแม่ของเธอมีอาการดีขึ้น และหายจากโรคร้ายนี้ได้ และหากรักษาคนไข้อาจจะทนรับผลกระทบ ที่เกิดจากการรักษาไม่ไหว เช่น การได้รับเคมีบำบัด เธอจึงได้เสาะแสวงหาการรักษาด้วยวิถีธรรมชาติ และได้ search ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต แล้วเธอก็ได้พบ “สมุนไพรฮับบาตุซเซาดะฮ์ ของ KAMIL” ในเว็บบล็อกแห่งนี้ 

“โอ้ พระเจ้า มันเป็นแสงสว่างเพียงน้อยนิดที่ยังคงมีเหลืออยู่” เธอโทรมาดิฉันด้วยน้ำเสียงที่
ตื่นเต้นและสั่นเครือ  ดิฉันจึงบอกว่า "มิอาจรับปากได้นะ ว่าคุณยายจะรอดหรือไม่? เพราะไม่สามารถทราบได้ว่า อายุขัยของคุณยายจะจบลงเมื่อไร?  (ฮับบาตุซเซาดะฮ์ เป็นยาบำบัดทุกโรค เว้นแต่ความตาย)  แต่ถ้าตัดสินใจรับประทานก็มีแต่ผลดีเกิดขึ้น ไม่มีผลเสียหาย"  
ดังนั้น เธอจึงได้ตัดสินใจสั่งซื้อเพียง 1 กระปุก (วันที่ 16 ก.ย. 55) เพื่อดูผลการตอบสนองของสมุนไพรก่อน  และได้ให้คุณแม่ของเธอรับประทาน พร้อมทั้งตัวเองก็ลองทาน เพื่อรักษาอาการเบาหวานของเธอด้วย

ผลลัพท์ : ภายในช่วงเวลาแค่ 10 วันเท่านั้น ดิฉันได้โทรไปเยี่ยมเยียน เธอบอกว่า คุณยาย (หมายถึง คุณแม่ของเธอ) มีอาการดีขึ้นมาก อาการตัวเหลืองน้อยลงกว่าเดิม และตัวเธอเองที่เป็นเบาหวาน ก็ได้ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด พบระดับน้ำตาลในเลือดลดลง..ด้วยเช่นกัน
เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่เพิ่งผ่านมาสองวันนี้  เธอได้โทรมาสั่งซื้อ KAMIL HABBATUSSAUDA เพิ่มอีก 3 กระปุก และดิฉันได้สอบถามอาการของคุณยาย  เธอตอบว่า “คุณยายดีขึ้นมาก ๆ เกือบเหมือนคนปกติ ทานอาหารได้ เมื่อตอนสิ้นเดือนกันยายน เข้าโรงพยาบาล เนื่องจากสายที่ต่อท่อน้ำดีจากตับ เพื่อให้ถ่ายทิ้งออกข้างนอกนั้น ได้หลุดออกมา จึงต้องเข้าโรงพยาบาลให้คุณหมอใส่ให้ใหม่  แต่คุณยายไม่ได้มีอาการป่วยหรือผิดปกติประการใด  และไม่ได้เข้าไปเพื่อบำบัดรักษา (treat) โรคมะเร็งตับ แต่อย่างใด คุณหมอที่ให้การดูแลบอกว่า คุณยายอาการดีขึ้นมาก และอีกไม่นานนักถ้าคุณยายดีขึ้นกว่านี้ คุณหมออาจจะถอดสายที่ต่อท่อน้ำดีทิ้ง"  ช่างน่ามหัศจรรย์จริง ๆ  ตอนท้ายเธอยังได้กล่าวย้ำกับดิฉันอีกว่า “คุณแม่ของเธอไม่ได้บำบัดรักษาด้วยวิธีการอื่นใด นอกจากทานฮับบาตุซเซาดะฮ์ ของ KAMIL เพียงอย่างเดียวค่ะ”
ดิฉันมิอาจซักถามได้ว่า คุณยายป่วยเป็นมะเร็บตับประเภทหรือชนิดไหน?  แต่จากการฟังอาการที่เธอเล่ามา ประกอบกับการค้นคว้าข้อมูลเรื่องโรคมะเร็งตับ ดิฉันคาดว่า คุณยายน่าจะป่วยเป็นมะเร็งตับ ชนิด cholangiocarcinoma.