วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรค MS รักษาด้วยน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮฺ ได้จริงหรือ?

ก่อนอื่นเราขอนำคุณมารู้จักกับอาการและสาเหตุของโรคกันก่อนดีกว่านะคะ ลองสำรวจดูว่า คุณมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันหรือไม่?

- มีปัญหาเรื่องกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ เช่น ปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ท้องผูก อ่อนเพลีย ปวดอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน
- มีปัญหาการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว มีปัญหาการแยกแยะสิ่งต่าง
- การทรงตัว การกลืนและการพูด แขนขาอ่อนแรง
- มีอารมณ์แปรปรวน

อาการเหล่านี้คือสัญญาณบอกเหตุว่า ถึงเวลาที่คุณต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคเอ็มเอสกันแล้ว

โรคเอ็มเอส หรือโรคมัลติเพิล สเคลอโรซิส (Multiple Sclerosis : MS) หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า “โรคปลอกประสาทอักเสบ” เชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ปี ค.ศ.1838 จากภาพวาดการตรวจศพ ซึ่งมีลักษณะทางพยาธิเหมือนโรคเอ็มเอส แต่ถูกบันทึกอาการของโรคอย่างเป็นทางการ เมื่อปี ค.ศ.1868 โดย Professor Jean-Martin Charcot อายุรแพทย์ทางด้านประสาท และผู้เชี่ยวชาญพยาธิวิทยาด้านกายวิภาคศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า พบผู้ป่วยเพศหญิง มีอาการสั่น พูดอ้อแอ้ กลอกตาผิดปกติ และภายหลังการเสียชีวิตผลการชันสูตรศพพบว่า มีรอยแผลเป็น (scar) ที่บริเวณประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง (plaques) จำนวนมาก (multiple) จากลักษณะอาการที่พบจึงเป็นที่มาของชื่อโรคว่า “Multiple Sclerosis”

สาเหตุการเกิดโรค MS
โรคเอ็มเอสเกิดจากเยื่อกั้นระหว่างหลอดเลือดและระบบประสาทถูกทำลาย โดยเกิดในช่วงระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา ผลที่ตามคือ แมคโครฟาจ (macrophage) และทีเซลล์ (T-cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในเม็ดเลือดขาว มีหน้าที่คอยดักจับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในกระแสเลือด จะเข้าไปทำลายเซลล์สมอง เพราะคิดว่า เป็นเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากไม่เคยพบมาก่อนในหลอดเลือด

ฉะนั้น ด้วยลักษณะของการเกิดของโรค “โรคเอ็มเอส” จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรค
“ออโตอิมมูน” (autoimmune disease) คือ โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตัวเอง


ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค
โรคเอ็มเอส เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม รวมถึงเชื้อไวรัส โดยพบว่าผู้ที่มีประวัติว่า มีญาติพี่น้องเป็นโรคเอ็มเอส มีโอกาสจะเป็นโรคเอ็มเอสมากขึ้น ถึงร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็มีผลต่อการเกิดโรคเอ็มเอส และยังพบว่าผู้ป่วยโรคเกาท์ ผู้ที่มีระดับกรดยูริกต่ำ ก็มีโอกาสเป็นโรคเอ็มเอสมากกว่าคนทั่วไป

กลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอ็มเอส
- โรคเอ็มเอส มักพบในกลุ่มหนุ่มสาวและคนวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 20-40 ปี แต่พบน้อยในคนที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี และมากกว่า 55 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า
- สำหรับพื้นที่ที่พบโรคเอ็มเอส ส่วนมากมักจะเป็นแถบที่มีความเจริญทางอุตสาหกรรม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และพื้นที่ยิ่งไกลจากเส้นศูนย์สูตรมากก็ยิ่งพบมากขึ้น ขณะที่ประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรจึงพบผู้ป่วยน้อย
-สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะพบผู้ป่วยโรคเอ็มเอสไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงและหากปล่อยไว้นานก็อาจจะพิการได้ร้อยละ 50

โรคเอ็มเอส มีกี่ประเภท โดยทั่วไปมีการแบ่งโรคเอ็มเอส ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. โรคเอ็มเอสชนิดที่เป็นๆ หายๆ (relapsing-remitting MS : RR-MS)
โดยพบมากที่สุดถึงร้อยละ 80 ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอ็มเอสประเภทนี้จะมีอาการดีขึ้นจนดูเหมือนหายแล้ว แต่หลังจากนั้นก็จะกลับมาเป็นอีก ซึ่งในช่วงที่หายดีอาจทิ้งช่วงกินเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ไม่แน่นอน

2. โรคเอ็มเอสแบบการดำเนินโรคค่อยๆ รุดหน้าในภายหลัง (secondary progressive MS : SP-MS)
มักเกิดหลังจากเป็น RR-MS ในช่วงแรกแล้ว หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะ SP-MS ในภายหลัง โดยร้อยละ 40-60 ของผู้ป่วย RR-MS จะเข้าสู่ระยะ SP-MS ใน 15-20 ปีต่อมา ซึ่งอาการของโรคจะเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จะกลับมาดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้นก็ได้

3. โรคเอ็มเอสแบบการดำเนินโรครุดหน้าตั้งแต่ระยะแรก (primary progressive MS : PP-MS)
เป็นประเภทที่พบได้น้อย คือประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคเอ็มเอสทั้งหมด โดยผู้ป่วยจะค่อยๆ มีอาการเลวลงตั้งแต่เริ่มแรก และค่อยๆ สูญเสียสมรรถภาพการทำงานเรื่อยๆ โดยจะไม่พบอาการที่เลวลงอย่างเฉียบพลัน หรือกลับมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จะพบเพียงอาการที่ค่อยๆ เลวลงทีละน้อย

4. โรคเอ็มเอสชนิดที่มีทั้งการดำเนินโรครุดหน้าและมีลักษณะของการกลับเป็นซ้ำ (progressive relapsing MS : PR-MS)
เป็นประเภทที่พบน้อยมากเพียงร้อยละ 3-5 การดำเนินของโรคจะเร็วมาก จากนั้นก็จะกลับมาดีขึ้น แล้วก็จะมีอาการอีกและเริ่มรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว

5. โรคเอ็มเอสชนิดไม่ร้ายแรง (Benign MS)
ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเหมือนกับชื่อของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เหมือนในช่วงระยะเริ่มแรกที่มีการกำเริบ อาจมีอาการเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต และสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เกือบสมบูรณ์ บางครั้งระยะเวลากว่าจะมีการกำเริบเป็นครั้งที่ 2 อาจจะกินเวลาถึง 20 ปี การดำเนินโรคเป็นไปช้ามาก

การวินิจฉัยโรคโดยแพทย์เฉพาะทาง ประกอบด้วยหลายวิธี คือ

1. การซักประวัติ โดยแพทย์ทางประสาทวิทยาจะทำการซักประวัติ เพื่อวินิจฉัยแยกโรคเอ็มเอส จากโรคอื่นๆ
2. การทดสอบทางประสาทวิทยา เช่น สอบถามประวัติอาการในอดีต ตรวจการทำงานของตา การทรงตัว การรับสัมผัส และปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (reflex action) เป็นต้น
3. การใช้เครื่องเอ็มอาร์ไอทำการตรวจสแกน ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นภาพของสมองหรือไขสันหลัง ตำแหน่งที่เยื่อไมอีลินถูกทำลายและมีการสลายตัวเห็นเป็นรอยแผลเป็น
4. การทดสอบทางสรีระวิทยาไฟฟ้าของสมองที่เรียกว่า "Evoked potentials" คือ การตรวจสอบความเร็วจากสิ่งกระตุ้น เป็นต้นว่า เสียงหรือภาพที่ส่งไปยังสมอง หรือความเร็วของการสั่งการจากสมองไปยังอวัยวะอื่น ๆ ว่ามีความล่าช้ากว่าปกติหรือไม่อย่างไร
5. การเจาะไขสันหลัง ที่เรียกว่า "Lumbar puncture" เพื่อดูดเอาน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ไปตรวจพิสูจน์ว่าเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีจำนวนมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่า มันทำงานมากขึ้นเกิดปฏิกิริยาเล่นงานโจมตีประสาทส่วนกลาง

การรักษาทางการแพทย์ปัจจุบัน
โรคเอ็มเอส ทางการแพทย์ถือว่า เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แพทย์จึงรักษาตามอาการของโรคในขณะนั้น

ทำไมน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮฺ จึงสามารถรักษาโรคเอ็มเอสได้??

ถ้าใครที่เคยอ่านคุณสมบัติของน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮฺ (Black Seed Oil) และติดตามข้อมูลความรู้ทางวิชาของทางเว็บบล็อก KAMIL HABBATUSSAUDA นี้มาแล้ว พอได้อ่านข้อมูลข้างต้นเกี่ยวกับโรคเอ็มเอส ก็คงต้องร้อง.. “อ๋อ!! โรคนี้ไม่ต้องห่วงแล้ว น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮฺ หรือ Black Seed Oil สามารถให้การรักษาเยียวยา ได้ดีมาก ๆ” เพราะเนื่องจากชื่อโรคก็บอกอยู่ชัดเจน ว่า เป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ และปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ก็เนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า โรคเอ็มเอส
จัดอยู่กลุ่มของโรค “ออโตอิมมูน” (autoimmune disease) คือ เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง หรือทำลายเซลล์ตัวเอง ที่นี้ลองมาดูกันซิว่า.. เหตุใด Black Seed Oil จึงสามารถรักษาโรค MS ได้

น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil, Black Cumin Seed Oil)


ประกอบด้วยสารอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการมากมายกว่า 100 ชนิด โดยมันจะทำงานร่วมกันและเสริมฤทธิ์กัน หมายความว่า แต่ละองค์ประกอบของมันจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการทำให้ร่างกายมีกลไกในการดูแลรักษาตัวเองแบบองค์รวม สารอาหารสำคัญที่อยู่ใน Black Seed Oil คือ Thymoquinone ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขจัดอนุมูลอิสระ

คุณประโยชน์ของน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil)
1. ป้องกันมะเร็ง (Cancer Prevention) ในงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่ง เราพบว่าสารสกัดในเมล็ดสีดำสามารถปกป้องเซลล์ที่มีสุขภาพดี และทำลายเซลล์ที่เป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้าย ในขณะที่มันสามารถเพิ่มระดับของแอนตี้บอดี้ (antibodies) ในร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants), ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ รวมทั้งทุก ๆ องค์ประกอบที่มีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง

2. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง (High In Antioxidants) ในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จึงช่วยป้องกันความเครียด (oxidative stress) ที่เกิดขึ้นกับเซลล์ และระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งสารสกัดไธโมควิโนน (thymoquinone) ที่แสดงให้เห็นว่า มันสามารถป้องกันโรคหัวใจ, โรคตับ และโรคไต จากการศึกษาทดลองในสัตว์

3. ต้านการอักเสบ (Anti-Inflammatory) จากการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) สามารถลดการอักเสบ โดยการใช้น้ำมันเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ทาที่ผิวหนัง เพื่อลดความเจ็บปวด และบรรเทาอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ

4. ป้องกันอาการแพ้ (Antihistamine) มันเป็นสารธรรมชาติที่ช่วยต้านทานการปลดปล่อยฮิสตามีนของร่างกาย ที่เกิดจากการแพ้และการระคายเคือง โดยน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ ได้แสดงให้เห็นว่า มันสามารถทำลายจุลินทรีย์ (microorganisms) ซึ่งเป็นเชื้อโรคขนาดเล็ก เช่น ไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย ในการทดสอบทางแลป (lab)

5. ต่อต้านแบคทีเรีย (Antibacterial) ผลงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) มีความสามารถในการทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งเชื้อรา, แคนดิดา (candida) และเชื้ออีโคไล (E. coli)

6. ลดความดันโลหิต (Blood Pressure) มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า สารสกัดสำคัญในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) สามารถลดความดันโลหิต

7. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกั (Immune System Support) เจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขของรัฐหลายคนกล่าวว่า น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ด้วยการเพิ่มปฏิกิริยาที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกัน และการผลิตสารแอนติบอดี้ (antibodies)

8. ลดอาการภูมิแพ้ (Allergy Relief) การศึกษาในผู้ป่วย 152 ราย เมื่อปี 2003 พบว่า น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) ช่วยลดอาการของโรคภูมิแพ้ และอาจจะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับอาการแพ้ นอกเหนือจากนี้ ได้มีการศึกษาในผู้ป่วยอีก 600 ราย พบว่า น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ช่วยลดอาการแพ้ได้ถึง 70% ของกรณีศึกษา

9. รักษาโรคเบาหวาน (Diabetes) จากการศึกษาพบว่า น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลกลูโคสและระดับอินซูลิน ที่สมดุลหลังมื้ออาหาร

10. ส่งเสริมสุขภาพของระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Health) น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ได้แสดงให้เห็นว่า มันมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหอบหืด และลดอาการของการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไอ และโรคหลอดลมอักเสบ

11. ช่วยระบบย่อยอาหาร (Digestive Aid) มันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) ช่วยกระบวนการกำจัดสารพิษของร่างกาย ช่วยกระตุ้นน้ำดีในกระเพาะอาหาร และสามารถใช้เป็นยาระบาย

12. รักษาโรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
การศึกษาแสดงให้ว่า น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) สามารถช่วยขจัดความผิดปกติของการนอนหลับ เมื่อใช้รับประทานก่อนนอน

13. ให้สุขภาพผิวที่ดี (Healthy Skin) น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed Oil) อาจมีประสิทธิภาพในการรักษาสิวเรื้อรัง

จากการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า ไม่มีสมุนไพรอื่นใดที่เป็นที่รู้จักกันว่า มีความสามารถที่หลากหลายในการรักษาโรคได้เท่ากับ Black Seed Oil และนี่คือคุณประโยชน์มหาศาลที่ได้จากน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮฺ หรือ Black Seed Oil.