หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ฮับบาตุซเซาดะฮ์ แบบผง หรือแบบน้ำมันสกัด อันไหนให้ประโยชน์สูงกว่า

วันนี้ขอกลับมารีวิว (review) เรื่องนี้อีกสักครั้ง  เนื่องจาก หลาย ๆ คนพอได้ทราบข้อมูลความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์อันมหาศาลของฮับบาตุซเซาดะฮ์  (Black Seed / Black Cumin) หรือที่แพทย์แผนไทยเรียกว่า “เทียนดำ” นั้น ก็เริ่มอยากที่จะหาซื้อมารับประทาน  แต่ทว่ามันมีทั้งแบบชนิดที่เป็นผง (บรรจุแคปซูล) และน้ำมันสกัด (แคปซูล)  แล้วแบบไหนล่ะ ถึงจะให้ประโยชน์แก่เรามากกว่ากัน??

คำตอบ :
     1.      แบบผง : ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ไม่ได้เต็มที่ เพราะต้องผ่านขบวนการย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งการย่อยและการดูดซึมเป็นไปได้ยากกว่าแบบน้ำมันสกัด ประโยชน์ส่วนที่เหลือ ก็คือ ได้เป็นกากใย (fiber) ของอาหาร (ซึ่งมันก็เหมือนเราทานหรือเคี้ยวเมล็ดงาดำนั่นเอง) อีกทั้งตัวผงของเมล็ดพันธุ์ ก็ยังไม่สามารถดึงสารอาหารสำคัญ ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายในฮับบาตุซเซาดะฮ์ออกมาใช้  แต่ทั้งนี้ ตามตำรายาแผนโบราณ อาจมีสูตรหรือการเข้ายาเพื่อการบำบัดรักษาบางโรค ซึ่งสามารถให้ผลในการบำบัดรักษาได้ในระดับหนึ่ง  เช่น นำผงของเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือเทียนดำ ไปผสมกับน้ำผึ้ง เพื่อช่วยเสริมฤทธิ์กัน  ซึ่งเรื่องนี้ตามตำราแพทย์อายุรเวท (อินเดีย) ถือว่า น้ำผึ้งเป็นสื่อนำในพาสารอาหารต่าง ๆ เข้าในส่วนเล็กที่เล็กที่สุดของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ในร่างกายนั่นเอง

     2.      แบบน้ำมันสกัด : สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย หากคุณรับประทานตอนท้องว่าง (ไม่ปะปนกับอาหารที่รับประทานในมื้อนั้น ๆ) ก็จะดูดซึมไปใช้ได้ทันที  ทั้งนี้ สารอาหารสำคัญ ๆ หลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย จะอยู่ในน้ำมันหอมระเหยของฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Black Seed Oil แทบทั้งสิ้น  จึงจำเป็นต้องสกัดเป็นน้ำมันออกมา ถึงขั้นที่ได้น้ำมันหอมระเหยของมัน เพื่อดึงสารอาหารต่าง ๆ ออกมาใช้ประโยชน์  และวิธีการสกัดที่ดีที่สุด ก็คือ วิธีการสกัดเย็น (Cold Pressed)  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะดึงองค์ประกอบของสารอาหารที่อยู่ในมัน ออกมาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ หรือไม่เพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการสกัดน้ำมันของแต่ละแหล่งผลิต แม้จะสกัดด้วยวิธี Cold Pressed เหมือนกันแต่มีส่วนประกอบหรือกรรมผลิตในรายละเอียดทีแตกต่างกัน เช่น เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ การควบคุมอุณหภูมิในการผลิต หรือแม้แต่ความสดใหม่ของวัตถุดิบ (เมล็ดพันธุ์) และสายพันธุ์ของตัวเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ ที่มาจากแต่ละแหล่งกำเนิด ก็ให้คุณสมบัติที่ดีเด่นไม่เท่ากัน  (เราลองนึกเปรียบเทียบดู มันก็เหมือนเราเลือกซื้อผลไม้ เช่น องุ่น แอปเปิ้ล หรือสตอเบอรี่ นั่นเอง) 

องค์ประกอบของสารอาหารสำคัญ
ในน้ำมันหอมระเหยของฮับบาตุซเซาดะฮ์มีมากมาย ได้แก่  thymoquinone, thymohydroquinone, dithymoquinone, thymol, carvacrol, nigellimine, สารอัลคารอยด์ (เช่น nigellicine, nigellidine)  และสารซาโปนิน (alphahederin)  แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คือ ธัยโมควิโนน (Thymoquinone) ที่เป็นนางเอกหรือหัวใจของมัน

จากการศึกษาพบว่า  N. sativa (ฮับบาตุซเซาดะฮ์) และองค์ประกอบของสารอาหารในนั้น  ให้ฤทธิ์ในทางเภสัชวิทยาอย่างกว้างขวาง เช่น  เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน (immune-stimulatory), ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory), ลดระดับน้ำตาลในเลือด (hypoglycemic), ลดความดันโลหิต (antihypertensive), รักษาโรคหอบหืด (antiasthmatic), เป็นยาต้านจุลชีพ  (antimicrobial) ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา หรือปรสิตขนาดเล็ก, ยาต้านปรสิตหรือขับถ่ายพยาธิ (antiparasitic), ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และต้านมะเร็ง (anticancer effects)---[ ที่มา : reviewed in Randhawa and Alghamdi, 2002, Randhawa and Alghamdi, 2011, Ali and Blunden, 2003, Salem, 2005, Padhye et al., 2008 and Randhawa, 2008 ]

การศึกษาทางเภสัชวิทยา : [จากฐานข้อมูล เครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี] พบว่า ฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือเมล็ดเทียนดำให้ผลในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ดังนี้
(1)   ระบบทางเดินหายใจ : น้ำมันจากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ในขนาด 4-32 ไมโครลิตร/กก. เพิ่มแรงดันภายในหลอดลม สาร nigellone ป้องกันภาวะหลอดลมตีบที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารฮีสตามีนในหนู ลดการหดเกร็งของหลอดลม
(2)   ระบบหัวใจ และหลอดเลือด : น้ำมันจากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ในขนาด 4-32 ไมโครลิตร/กก. หรือสาร thymoquinone ในขนาด 0.2-1.6 มก/กก. ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดความดันโลหิต สารสกัดไดคลอโรมีเทนเมื่อให้หนูที่เป็นความดันกินในขนาด 0.6 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน เป็นเวลา 15 วัน เมื่อวัดความดันโลหิตเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน nifedipine พบว่าสารสกัดลดความดันได้ 22% ในขณะที่ nifedipine ลดความดันได้ 18%  และยังทำให้การขับปัสสาวะเพิ่มขึ้น และเพิ่มการขับโซเดียม คลอไรด์ โปแตสเซียมอิออน และยูเรียทางปัสสาวะ สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด ยับยั้ง fibrinolytic activity ทำให้ระยะเวลาที่เลือดไหลลดลงในกระต่าย
(3)   ระบบทางเดินอาหาร : น้ำมันจากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อให้หนูโดยการกิน พบว่า เพิ่มการหลั่งเยื่อเมือกที่กระเพาะอาหาร และลดการหลั่งสารฮีสตามีนที่ผนังกระเพาะอาหาร และสามารถป้องกันแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากเอทานอลได้ 53.56%
(4)   ฤทธิ์ต้านจุลชีพ : สารสกัดไดเอทิลอีเทอร์จากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียกรัมบวก Staphylococcus aureus, เชื้อแบคทีเรียกรัมลบ Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli, เชื้อยีสต์ Candida albican  นอกจากนี้สารสกัดน้ำจากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ ยังสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิ
(5)   ฤทธิ์ต่อพยาธิ : ในเด็กที่ติดเชื้อพยาธิเมื่อให้สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ โดยการรับประทานในขนาด 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถลดจำนวนไข่พยาธิในอุจจาระ  การให้น้ำมันจากเมล็ดแก่หนูที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ Schistosoma mansoni เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า สามารถลดจำนวนพยาธิที่ตับ และลดจำนวนไข่พยาธิในตับ และลำไส้ได้
(6)   ฤทธิ์ต้านไวรัส : การให้น้ำมันจากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ โดยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู พบว่า สามารถยับยั้งเชื้อเฮอร์ปีส์ ที่ตับ และม้าม ได้ในวันที่ 3 ของการติดเชื้อ โดยในวันที่ 10 ไม่พบเชื้อ และสามารถเพิ่มระดับ interferon gamma เพิ่มจำนวน CD4 helper T cell  ลดจำนวน macrophage ได้
(7)   ฤทธิ์ต้านการอักเสบ : สาร thymoquinone และน้ำมันจากเมล็ด ยับยั้งการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบหลายชนิด เช่น thromboxane B2, leucotrein B4, cyclooxygenase, lipoxygenase เป็นต้น, สาร nigellone ยับยั้งการปลดปล่อยฮีสตามีน จากช่องท้องหนู
(8)   ฤทธิ์ต้านมะเร็ง : สาร thymoquinone และ dithymoquinone มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ตับอ่อน มดลูก เต้านม รังไข่ และลำไส้ได้ ในหลอดทดลอง สารสกัดเอทิลอะซีเตต ยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูได้  สารซาโปนิน alpha-hederin ยับยั้งการเกิดเนื้องอกในหนูได้ 60-70%
(9)   ฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน : สาร thymoquinone  มีฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยา lipid peroxidation สาร trans-anethole, carvacrol, 4-terpineol ออกฤทธิ์ดีในการจับ superoxide anion
(10) ฤทธิ์ปกป้องตับ และไต : สาร thymoquinone ป้องกันตับจากสารพิษคาร์บอนเตตราคลอไรด์  และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation  และป้องกันไตจากภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) โดยการจับกับ superoxide และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation
(11) ฤทธิ์ยับยั้งอาการปวด : สารสกัดน้ำจากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ ลดปวดในหนูที่ทดสอบด้วยวิธี hot plate แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้
สรุป : เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว แต่ละคนคงจะให้คำตอบกับข้อสงสัยของตัวเองว่า “จะเลือกซื้อน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ แบบไหนมาบริโภคกันดี”

&&&&&&&&&&&&&

เราลองมาดูซิว่า กว่าจะเป็นน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์  (Black Seed Oil) มันต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง จนกระทั่งออกมาน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ Black Seed Oil ที่มีคุณภาพ และมีอนุพันธุ์ของสารพฤกษเคมีที่ทรงคุณค่ามหาศาลอยู่ในนั้น อันได้แก่ Thymoquinone, Saponins*, Alkaloids


*ซาโปนิน (Saponin) เป็นสารทุติยภูมิที่ส่วนใหญ่พบมากในพืช เป็นสารประกอบประเภทไกลโคไซด์ (glycoside) มีคุณสมบัติเป็น “adaptogen” ซึ่งช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น ปรับความสมดุลของความดันโลหิต, เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของร่างกายให้สูงขึ้น, ต่อต้านความเครียด กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีผลให้รู้สึกมีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่า, เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน และชะลอความแก่

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทำไมฮับบาตุซเซาดะฮ์จึงเป็นยาบำบัดได้ทุกโรค


ในบทความหลายเรื่อง ๆ ที่ผ่านมา เราได้เคยกล่าวถึงเหตุผลอันเป็นที่ประจักษ์ถึงวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่กล่าวว่า "ฮับบาตุซเซาดะฮ์เป็นยาบำบัดทุกโรค เว้นแต่ความตาย" โดยหยิบยกผลงานวิจัยต่าง ๆ มามากมาย ที่อธิบายถึงประสิทธิภาพของฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Black Seed หรือที่ตำรายาไทย เรียกว่า "เทียนดำ") ในการเป็นอาหารหรือยาที่ช่วยชีวิตผู้คนทั้งหลายให้พ้นจากความเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ดังเช่น :-

  • เบาหวาน ชนิดที่ 2 : การบริโภคน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ วันละ 2 กรัม มีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือด ความต้านทานต่ออินซูลิน และ glycosylated hemoglobin (HbA1c) ลดลง[1]
  • ต้านการติดเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter pylori หรือย่อว่า H.pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรีย ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร  ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่ในบางราย เชื้ออาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  • โรคลมชัก (Epilepsy) : น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์เป็นที่รู้จักันในการแพทย์โบราณว่า มีคุณสมบัติเป็น "ยากันชัก" จากผลงานวิจัยเมื่อปี 2007 ในเด็กที่เป็นโรคลมชัก สารสกัดในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์สามารถลดอาการของโรคลมชักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[2]
  • ความดันโลหิตสูง : การใช้สารสกัดจากฮับบาตุซเซาดะฮ์ ในปริมาณครั้งละ 100 และ 200 กรัม วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 2 เดือน พบว่า ความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีความดันสูง ลดลง [3]
  • โรคหืดหอบ : การวิจัยทางคลินิกพบว่า สารสกัดของน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการใช้ฮับบาตุซเซาดะฮ์ผสมในน้ำร้อน มีผลในการรักษาโรคหืดหอบ และอาการหอบหืดในระบบทางเดินหายใจ
  • โรคทอนซิลอักเสบ แบบเฉียบพลัน : สาเหตุของทอนซิลอักเสบ หรืออาการเจ็บคอ ส่วนใหญ่มาจากเชื้อไวรัส  พบว่า การใช้ยาแคปซูลจากฮับบาตุซเซาดะฮ์ ผสมกับลูกใต้ใบ ช่วยระงับอาการเจ็บคอ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติจากการทดลองทางคลินิก
  • ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดจากอาวุธทางเคมี เช่น อาการของระบบทางเดินหายใจ และลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ : จากการศึกษาพบว่า การใช้สารสกัดจากฮับบาตุซเซาดะฮ์ ระงับการเจริญเติบโตของมะเร็งลำไส้นั้น มีผลเทียบได้กับการใช้ยาเคมีบำบัด (chemo agent 5-fluorouracil)  แต่ทว่าการใช้ฮับบาตุซเซาดะฮ์มีความปลอดภัยสูงกว่า[4] โดยจากการวิจัยในหนูทดลองพบว่า มีค่านัยสำคัญทางสถิติ
  • การติดเชื้อ MRSA : ฮับบาตุซเซาดะฮ์มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ methicillin Staphylococcus aureus ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล  โดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยแผลกดทับและผู้ป่วยที่ต้องใช้สายสวนปัสสาวะ หรือสายให้น้ำเกลือและยาทางหลอดเลือด
  • การติดยาเสพติด/การถอนยา : การศึกษาในผู้ป่วยติดยา จำนวน 35 ราย พบว่า ฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือเทียนดำ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการให้ผลในระยะยาว แก่ผู้ป่วยที่ต้องพึงยา (opioid) ในการรักษาอาการติดยา 

การวิจัยทางชีวภาพเกี่ยวกับ สารออกฤทธิ์ของฮับบาตุซเซาดะฮ์ในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ  ก็ได้มีมาอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ประเทศ นับเป็นหลายร้อยเรื่อง  และนี่คือส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว ซึ่งอาจจะให้คำตอบแก่คุณได้ว่า “ทำไมฮับบาตุซเซาดะฮ์ จึงเป็นยาบำบัดทุกโรค”  

1.      ป้องกันความเสียหายจากรังสี : Thymoquinone ซึ่งเป็นสารสกัดในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ ช่วยปกป้องเนื้อเยื่อสมอง จากภาวะความเครียดที่เกิดจากการฉายรังสี

2.      ป้องกันภาวะหัวใจวาย (Heart Attack)

3.      ป้องกันการพึ่งพามอร์ฟีน/ความเป็นพิษ

4.      ป้องกันความเสียหายของไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน : thymoquinone ซึ่งเป็นสารสกัดในน้ำมันฮับบาตุซเซาด์ ป้องกันผลกระทบที่ทำให้เกิดโรคไตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

5.      ป้องกันไม่ให้เกิดผังผืดหลังการผ่าตัด :  น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ ช่วยลดการยึดติดกันของเยื่อผังผืด ที่เกิดจากการผ่าตัดทางช่องท้อง
6.      ป้องกันการเป็นพิษต่อระบบประสาทในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เช่น การตายของเซลล์ในระบบประสาท
7.      ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม : Thymoquinone ในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และก่อให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเต้านม
8.      ยับยั้งโรคสะเก็ดเงิน Anti-Psoriasis : ฮับบาตุซเซาดะฮ์มีฤทธิ์ยับยั้งโรคสะเก็ดเงิน ตามที่มีการใช้ในตำรายาแผนโบราณ
9.      ปกป้องพยาธิสภาพของเซลล์สมองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และโรคสมองเสื่อม (dementia with Lewy bodies)

10.  ฆ่าเซลล์มะเร็งสมอง (Gliobastoma Brain Cancer )

11.  ฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว

12.  ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งตับ

13.  ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน

14.  ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปากมดลูก

15.  ปกป้องอันตรายที่ทำให้สมองไค้รับความเสียหาย

16.  ฆ่าเซลล์มะเร็งในช่องปาก


และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ ก็คือ Thymoquinone ที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ที่นับเป็นตัวเอกของงานนี้ : เพิ่มภูมิต้านทานโรค ต่อต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก ต่อต้านการอักเสบ ต่อต้านการติดเชื้อทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส (ที่ตัวยาอื่น ๆ ไม่สามารถทำลายได้) หรือแม้แต่กระทั่งปรสิต หรือพยาธิ ที่ตัวยาอื่นไม่สามารถฆ่าให้ตาย และไม่มีอันตรายแม้แต่จะใช้กับเด็กเล็ก.


------------------------

เอกสารอ้างอิง :

[1] Abdullah O Bamosa, Huda Kaatabi, Fatma M Lebdaa, Abdul-Muhssen Al Elq, Ali Al-Sultanb. Effect of Nigella sativa seeds on the glycemic control of patients with type 2 diabetes mellitusIndian J Physiol Pharmacol. 2010 Oct-Dec;54(4):344-54. PMID: 21675032

[2] Javad Akhondian, Ali Parsa, Hassan Rakhshande. The effect of Nigella sativa L. (black cumin seed) on intractable pediatric seizuresMed Sci Monit. 2007 Dec;13(12):CR555-9. PMID: 18049435

[3] Farshad Roghani Dehkordi, Amir Farhad Kamkhah. Antihypertensive effect of Nigella sativa seed extract in patients with mild hypertensionBraz J Med Biol Res. 2006 Apr;39(4):421-9. Epub 2006 Apr 3. PMID: 18705755

[4] Elsayed I Salim, Shoji Fukushima. Chemopreventive potential of volatile oil from black cumin (Nigella sativa L.) seeds against rat colon carcinogenesisNutr Cancer. 2003;45(2):195-202. PMID: 12881014

[ [ [*Thank you for the source : http://www.greenmedinfo.com/ ] ] ]