คราบไขมันที่เกาะตัวในผนังเส้นเลือด เรียกว่า Plaque มีสาเหตุมาจากการมีคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูง ถ้าหากมี Plaque เกาะตัวสะสมอยู่ผนังเส้นเลือดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้หลอดเลือดตีบและทำให้เลือดไหลผ่านได้ยากขึ้น ในกรณีที่หลอดเลือดนั้น เป็นหลอดเลือดที่ส่งมาเลี้ยงที่กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และอาจจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ถ้าเป็นที่หลอดเลือดสมอง ก็อาจจะเกิดภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน หรือเส้นโลหิตในสมองแตก (stroke) และหากเกิดที่ตับและไต จะทำให้เส้นเลือดที่ตับหรือไตตีบ/แตกหรือตัน ทำให้ตับหรือไต
สูญเสียการทำงาน จนอาจถึงขึ้นตับวายหรือไตวายก็เป็นได้
อาหารที่พบว่ามีคอเลสเตอรอลได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ (เนื้อ ไก่ ปลา และผลิตภัณฑ์จำพวกนม) แต่ในทางกลับกัน อาหารจำพวกผักและผลไม้กลับไม่มีคอเลสเตอรอลเลย
ฤทธิ์ลดไขมันของเมล็ดเทียนดำในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ตุซเซาดะฮ์) รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง
การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาทางคลินิกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อายุ 45-60 ปี ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง โดยแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น กลุ่มแรก จำนวน 19 คน ให้รับประทานแคปซูลบรรจุผงเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa) ขนาด 1 กรัม หลังอาหารเช้าทุกวัน และกลุ่มที่สอง จำนวน 18 คน ให้รับประทานยาหลอก โดยใช้ระยะเวลาในการทดสอบ
ทั้งสิ้น 2 เดือน การทดสอบจะทำการวัดระดับไขมันในเลือด 3 ช่วง คือ ก่อนเริ่มทำการทดสอบ (ก่อนให้ยา), ช่วงเวลาหลังทำการทดสอบ 1 เดือน (คือ เมื่อสิ้นสุดการให้ยา) และหลังจากสิ้นสุดการให้ยาอีก 1 เดือน
การประเมินผลทดสอบ :
1. ช่วงเวลาหลังทำการทดสอบได้ 1 เดือน (สิ้นสุดการให้ยา) ได้ทำการประเมินผลกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาทั้ง 2 กลุ่มแล้ว พบว่า เทียนดำช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม,
ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL (low density lipoprotein cholesterol) และมีผลให้
เพิ่มระดับ HDL (high density lipoprotein cholesterol) ได้ดีกว่ากลุ่มผู้ป่วย
ที่ให้ยาหลอก
2. เมื่อทำการทดสอบเป็นเวลาครบ 2 เดือน กล่าวคือ หลังจากได้หยุดให้ยา เป็นเวลา 1 เดือน หรือมากกว่า พบว่า ระดับไขมันมีแนวโน้มกลับไปใกล้เคียงกับช่วงเริ่มการทดสอบ (ก่อนให้ยา)
สรุปผลจากการทดสอบ พบว่า เทียนดำอาจนำมาใช้ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบันได้
ที่มา : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(J Transl Med 2014;12:82)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ