หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

14 Q&A ที่ควรรู้ เพื่อควบคุมและป้องภัยจากเบาหวาน (ตอนที่ 2)

Q 10 : โรคเบาหวานมีกี่ชนิด หรือกี่ประเภท??
A 10 :  ใช้ตามองค์การอนามัยโลก คศ.1985  ซึ่งแบ่งตามลักษณะคลินิก ได้แก่ โรค
เบาหวานชนิดที่พึ่งอินซูลิน (IDDM), โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (NIDDM), โรค
เบาหวานที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางโภชนาการ (MRDM), และโรคเบาหวานที่มีสาเหตุ
อื่น ๆ  ซึ่งการจำแนกดังกล่าวพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ หรือไม่สามารถแยกกันได้ชัดเจน ในแง่ของพยาธิสรีรวิทยาในการเกิดโรค  การดำเนินโรค, การตอบสนองต่อการรักษา, และการป้องกันโรค  ดังนั้น สหพันธ์โรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1997 และองค์การอนามัยโลก ค.ศ.1998  จึงได้มีการจำแนกประเภทของโรคเบาหวานใหม่  ได้แก่

1.    โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1  (Type 1 DM)  เป็นเบาหวานที่พบได้น้อย (ประมาณร้อยละ 10) แต่มีความรุนและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง
มีสาเหตุมาจาก ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลย หรือได้น้อยมาก  
การรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ  และพบว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม




2.    โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2  (Type 2 DM) เป็นเบาหวานที่พบมากที่สุด (ประมาณร้อยละ 90) มักจะมีความรุนแรงน้อย ส่วนใหญ่พบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง
มีสาเหตุมาจาก ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่วมกับความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินของตับอ่อน ทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้ กลายเป็นเบาหวานได้ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะอ้วน ทำให้ดื้อต่ออินซูลิน แต่ในรายที่ไม่อ้วน มักจะมีไขมันที่พุงมาก เบาหวานชนิดนี้มักพบว่า มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมมากกว่าโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1  แต่มีรายละเอียดทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน และไม่ชัดเจน
การรักษา ใช้การควบคุมอาหาร ควบคู่ไปกับการใช้ยาเบาหวานชนิดรับประทาน จะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ บางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลิน ฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป จึงเรียกว่าเป็นเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
ปัญหาที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยมักไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก  เนื่องจากส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการผิดปกติ


3.    โรคเบาหวานชนิดอื่น ได้แก่ โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทราบชนิดที่ชัดเจน หรือมีสาเหตุมาโรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน การใช้ยาสเตียรอยด์ หรือสารเคมี และอื่น ๆ
4.    โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) หมายถึง โรคเบาหวานที่มีความผิดปกติของความทนต่อกลูโคส ที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์  พบว่ามีประมาณร้อยละ 4 ของหญิงมีครรภ์ เป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในการพัฒนาทั้งแม่และลูกน้อย



Q 11 : ทำไมถึงเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้องรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน??
A 11 :  ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน จะเป็นพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบหลอดเลือด ซึ่งเป็นเสมือนท่อส่งน้ำเลี้ยงของร่างกาย  ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีจะมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดด้วย โดยจะมีไขมันในเลือด และความดันโลหิตสูงกว่าปกติ  ทั้งระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และความดันโลหิตที่สูงมีผลต่อผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีการอักเสบ และมีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดทำให้ตีบ แคบลง หรืออาจตันไปในที่สุด  เลือดไม่สามารถผ่านไปยังอวัยวะต่างๆ ได้  จึงเกิดภาวะขาดเลือด ขาดสารอาหาร ขาดออกซิเจน ทำให้อวัยวะนั้น ๆ เสียหาย  เช่น ถ้าเกิดกับหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยก็จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย  ถ้าเกิดกับเส้นเลือดในสมอง ก็จะเกิดอาหารอัมพาต  ถ้าเกิดกับเส้นประสาท ก็จะทำให้เส้นประสาทเสื่อม โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า  ถ้าเกิดกับจอประสาทตาทำให้จอประสาทตาเสื่อม มีเลือดออก จอประสาทตาหลุดลอก ทำให้ตาบอด ถ้าเกิดกับเส้นเลือดที่ไต ทำให้ไตขาดเลือด ไตเสื่อม เป็นโรคไตวายในที่สุด
Q 12 : โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน มีกี่ประเภท??
A 12 : โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน มี ประเภท  ดังนี้


1.    โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
1.1         ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มากกว่า 250 mg/dl ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย หอบลึก ซึม หมดสติ  ส่วนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะเกิดอาการชักกระตุกเฉพาะที่ ซึมหมดสติได้ โดยเฉพาะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 600 mg/dl

                วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในสูง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระมัดระวังอาหารหวานจัด เมื่อมีอาการหิวน้ำบ่อย คอแห้ง ปัสสาวะบ่อยให้สงสัยว่าน้ำตาลในเลือดสูง ให้เจาะเลือดดูระดับน้ำตาล และไม่ดื่มน้ำหวานแก้อาการคอแห้ง
  • หากมีอาการ หิวน้ำบ่อย คอแห้ง ปัสสาวะบ่อย ให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ 
  • ไม่ควรขาดยาเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ห้ามขาดยาฉีดอินซูลิน เพราะขาดยาแม้เพียง 1 มื้อก็อาจเกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เลือดเป็นกรดได้

1.2         ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 mg/dl อาการขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดลดลงรวดเร็ว หรือไม่? ผู้ป่วยจะมีอาการตัวสั่น มือสั่น เหงื่อออก หวิวปวดศีรษะ มึนงง หมดสติได้ หากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย ๆ ผู้ป่วยอาจหมดสติโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าได้

                 วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารสม่ำเสมอและตรงเวลา ไม่ควรรับประทานอาหารช้า โดยเฉพาะผู้ที่ฉีดยาอินซูลิน
  • หากมีอาการตัวสั่น มือสั่น เหงื่อออก หวิวปวดศีรษะ มึนงง ให้เจาะเลือดดูระดับน้ำตาล หากน้อยกว่า 70 mg/dl  ให้รับประทานน้ำหวานเฮลท์บลูบอย 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 แก้ว หรือท็อฟฟี่ 3 เม็ด หรือส้ม 1 ผล ใดอย่างหนึ่ง ตามด้วยการรับประทานข้าว 1ทัพพี แต่ถ้าไม่มีเครื่องเจาะน้ำตาลอยู่ใกล้ตัว ก็สามารถแก้อาการน้ำตาลต่ำดังกล่าวไปก่อนด้วยวิธีข้างต้น
  • ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

2.    โรคแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เป็นระยะเวลานาน ๆ จนทำให้หลอดเลือดหนาตัว ทำให้เส้นเลือดตีบ และเกิดโรคร้ายแรงตามมา จากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดแดงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ได้แก่
2.1    ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy) เกิดหลอดเลือดที่ตาตีบลง จอประสาทตาขาดเลือด ร่างกายพยายามสร้างหลอดเลือดใหม่ทดแทน ซึ่งเส้นเลือดเหล่านี้เปราะแตกง่าย  ทำให้ผู้ป่วยตาบอดโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

2.2         ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy) เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่ไตมีความเปลี่ยนแปลงหนาตัวขึ้นและมีโปรตีนรั่วออกมา ทำให้ไตเสื่อมลงในที่สุด จนอาจนำไปสู่โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักเสียชีวิตภายใน ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ

2.3         โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) เมื่อเกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกาย  โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพ ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด  แต่หากเกิดอาการหลอดเลือดอุดตัน ก็จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย  ในผู้ป่วยเบาหวานบางราย ที่กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ  ซึ่งจะทำการรักษาทำได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ  ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติ ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่น อาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป  โดยที่บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ

2.4         โรคหลอดเลือดในสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้ป่วยเบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะเบาหวานทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกาย และถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมองก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีโอกาสเสี่ยงเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า อาการเบื้องต้นสังเกตได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใด หรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลัก   บ่อย ๆ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง
2.5         โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral vascular disease) เกิดขึ้นจากผนังหลอดเลือดด้านในมีความเสื่อม และหนาตัวขึ้นจากการเกิดคราบไขมันและหินปูน ที่ไปเกาะที่หลอดเลือด ทำให้รูของหลอดเลือดแดงแคบลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปอย่างลำบาก อาการขึ้นอยู่กับว่ามีการอุดตันที่ตำแหน่งใด และมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด หากเป็นในระยะแรก อาจมีอาการปวดน่อง ขา เวลาเดินไกลๆ 
 (Claudication) แต่ถ้ามีการอุดตันอย่างรุนแรงก็จะมีอาการปวดแม้ขณะนั่งอยู่เฉย ๆ นอกจากนี้ยังอาจพบปลายเท้าเย็น สีผิวหนังเปลี่ยนแปลงไป เช่นเป็นสีขาว ๆ ซีด ๆ บางครั้งกลายเป็นสีม่วงคล้ำ และหากเกิดบาดแผลที่เท้าจะเป็นแผลเรื้อรัง หายยาก มีโอกาสที่ต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้ง เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงและทำให้เกิดเนื้อตาย พบว่ามีเพียง ใน ของคนที่เป็นโรคนี้ ที่มีอาการชัดเจนจากการศึกษา ในคน 6,417 รายที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน ได้แก่ อายุมากกว่า 70 ปีคนเป็นเบาหวานที่อายุ 50-60 ปีคนที่สูบบุหรี่มากกว่า 10 ซองต่อปี
2.6         แผลเรื้อรังที่เท้าจากเบาหวาน (Diabetic ulcer) สาเหตุเกิดจากปลายประสาทเสื่อม มีการแข็งตัวและตีบตันของหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย  ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้  รวมถึงการมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาทเองด้วย จึงทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสื่อมลง การรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ลดลง โดยเฉพาะบริเวณปลายมือปลายเท้า จะเกิดอาการชา เมื่อกระทบถูกความร้อนหรือเจ็บปวดจะไม่ค่อยรู้สึก ทำให้เกิดแผลได้ง่ายโดยไม่รู้สึกตัว รวมทั้งมีภาวะติดเชื้อร่วมด้วย  นอกจากผู้ป่วยเบาหวานชายที่มีอาการปลายประสาทเสื่อมเป็นระยะเวลานาน มักพบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย

                 การดูแลเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  • ควรแช่เท้าในน้ำอุ่นอาทิตย์ละ ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที เพื่อกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัวเพื่อไปเลี้ยงปลายเท้า
  • ควรใช้โลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังทาเท้าทุกวัน เพื่อทำให้เท้าชุ่มชื้นอยู่เป็นประจำ ไม่ทำให้เกิดการแห้งแตก อันเป็นที่มาของแผลต่าง ๆ
  • ควรสวมถุงเท้าเป็นประจำ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่เท้า และป้องกันแผลที่เกิดจากการขีดข่วนต่าง ๆ
  • ควรหมั่นตรวจเท้าทุกวัน เพื่อดูแลความสะอาด ล้างเท้า และซอกนิ้ว ให้สะอาดด้วยสบู่ และซับให้แห้ง
  • การตัดเล็บ ควรตัดด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเล็บขบ ควรตัดเล็บในแนวตรง ๆ และอย่าให้สั้นชิดผิวหนังจนเกินไป ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
  • หลีกเลี่ยงการตัด ดึง หรือแกะหนังแข็ง ๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า
Q 13 : หลักโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีอะไรบ้าง??
A 13 : การบริโภคอาหารชนิดใดก็ตาม หลักสำคัญ คือ ต้องคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรท และกระจายการกินคาร์โบไฮเดรตออกไปตลอดทั้งวัน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลแกว่ง โดยยึดหลักดังนี้ 

  • กินมื้อหลักเป็นเวลา มื้อทุกวัน อาหารว่างมีได้แต่ต้องมีปริมาณน้อย ๆ
  • ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  • เพิ่มใยอาหารโดยเลือกรับประทานผัก ผลไม้ที่หลากหลาย
  • เลือกอาหารที่เพิ่มระดับน้ำตาลน้อย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง เป็นต้น
  • จำกัดอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไม่เกิน 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (เค้กคุกกี้โดนัท,     ไอศรีม ฯลฯ)
  • ลดอาหารประเภทไขมัน โดยใช้วิธีการต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง อบ ยำ เลี่ยงไขมันอิ่มตัว
  • ควบคุมปริมาณของมื้ออาหาร ที่มีไขมัน และเนื้อสัตว์
  •  จำกัดเนื้อสัตว์ มื้อละไม่เกิน ส่วน (ช้อนโต๊ะ หรือ 90 กรัม)
  • ศึกษาข้อมูลโภชนาการ การอ่านข้อมูลโภชนาการช่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถแลกเปลี่ยนโควต้าคาร์โบไฮเดรตที่จะต้องบริโภคกับขนมหวาน หรืออาหารต้องห้ามในอดีตของผู้เป็นเบาหวาน หรือการหาสัดส่วนของปริมาณอินซูลินกับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมในการควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย
  • เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้
Q 14 : เบาหวานแฝง คืออะไร??
A 14 : ผู้ที่เป็นเบาหวานแฝงคือผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้าผิดปกติ คือ มีระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้า 100 -125 มล./ดล. ซึ่งยังไม่เข้าเกณฑ์วินิจฉัยเบาหวาน  การเจาะเลือดควรเจาะเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง คนกลุ่มนี้มีบางส่วนที่เป็นเบาหวานแล้ว เพราะน้ำตาลหลังรับประทานอาหารจะสูง ก่อนที่ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารจะผิดปกติ ดังนั้น แนะนำว่าควรทำการตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส  (OGTT) ในคนกลุ่มนี้ เพื่อดูว่าเป็นเบาหวานไปแล้วหรือยัง ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาโดย the third National Health and Nutrition Examination Survey (NHNESIII) รายงานว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกิน อายุระหว่าง 45-74 ปี ประมาณ 12 ล้านคน มีภาวะเบาหวานแฝง และในอีก 5-6 ปีข้างหน้า ในจำนวนนี้ผู้ที่มีระดับน้ำตาลผิดปกติแต่ไม่เป็นเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 38-65  นอกจากนี้ ยังได้คาดการณ์ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 นั้นเป็นเบาหวานแฝงมา 5 ปีก่อนได้รับการวินิจฉัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ