หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

14 Q&A ที่ควรรู้ เพื่อควบคุมและป้องภัยจากเบาหวาน

พวกเราทุกคนรู้จักโรคเบาหวานกันแค่ไหน?? ลองมาทำความเข้าใจกันดูซิ !!

Q 1 : ทำไมถึงเรียกว่า โรคเบาหวาน หรือ Diabetes Mellitus ??
A 1 :  โรคเบาหวาน มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คำว่า “Diabetes” หมายถึง น้ำพุ ส่วนคำว่า “Mellitus”  หมายถึง น้ำผึ้ง เมื่อรวมแล้วคำว่า Diabetes Mellitus  จึงมีความหมายว่า “น้ำพุแห่งน้ำผึ้ง”  คำว่า น้ำผึ้งในที่นี้คงใช้เป็นตัวแทนแห่งความหวาน  ความหวานที่เหลือล้น และพวยพุ่งออกมาอย่างมากมาย จนยากที่เราจะหยุดยั้งได้นั่นเอง  ทั้งนี้ เนื่องจากโรคเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  ร่างกายจึงต้องขับถ่ายน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะมาก  และปัสสาวะหวาน หรือปัสสาวะมีมดตอม ซึ่งในอดีตเรียกอาการของโรคนี้ว่า “โรคปัสสาวะหวาน”

Q 2 : โรคเบาหวานนี้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค หรือความรุนแรงของอุบัติการณ์เพียงใด?!
A 2 :  ความชุกโรคเบาหวาน อัตราการระหว่างปี 1990 (2533) ถึง 1995 (2538) ศูนย์อเมริกันเพื่อการควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้ประกาศว่า  การแพร่ระบาดโรคเบาหวานทั่วโลกมีมากกว่า 285 ล้านคน  ในจำนวนนี้มี 90% ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และคาดว่าในปี  2030 (2573) จะมีผู้ที่ต้องต่อสู้กับโรคเบาหวาน ทั่วโลก 438 ล้านคน และโรคเบาหวานยังเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลในเอเชีย ประเทศจีนมีจำนวนกว่า 90 ล้านคน และในอินเดียมี 50 ล้านคน  ปัจจุบันเป็นสาเหตุการตาย อันดับที่ 4 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก
สถานการณ์เบาหวานในประเทศไทย จากการประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ของสำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (www.hiso.or.th) รายงานเมื่อเดือนมกราคม ปี 2549 พบว่า ประเทศไทย ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานปีละ 2 หมื่นคน ความชุกของโรคเบาหวานในประชาชนชาวไทย อายุ 35 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 9.6 (ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน จึงสูญเสียโอกาสในการป้องกันและรักษา)
จากการสำรวจสภาวะสุขอนามัยของประชาชน ด้วยการตรวจร่างกายพบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 2.3 ในปี พ.ศ. 2534 เป็นร้อยละ 4.6 ในปี พ.ศ. 2539 และมีเพียง 48% ที่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นเบาหวาน และมีเพียง 17.6% ที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

Q 3 : การรณรงค์ป้องกันโรคเบาหวานโลก และประเทศไทย มีแนวทางอย่างไรบ้าง?
A 3 : องค์การอนามัยโลกและสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) รวมทั้งองค์การสหประชาชาติได้มีมติรับโลกเบาหวาน เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลก และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมกันดำเนินการควบคุมและรับมือกับโรคเบาหวาน  โดยได้กำหนดประเด็น (theme) การรณรงค์วันเบาหวานโลก ในช่วง 5 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2556 คือ “Diabetes Education and Prevention”  หรือ “การให้ความรู้และป้องกันโรคเบาหวาน” 
สาหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ได้กำหนดคาขวัญวันเบาหวานโลก ปี พ.ศ. 2554 ที่ใช้ในการรณรงค์ คือรวมพลัง ลดเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานเพื่อสร้างกระแสตื่นตัวให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามจากโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจถึงสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

Q 4 :  สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากอะไร?
A 4 :  สาเหตุโรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้ในยามปกติ มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน แต่เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ หรือมีพอแต่ใช้ไม่ได้ (ภาวะดื้ออินซูลิน หรือต้านอินซูลิน) น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ  เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน



โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ มักเป็นกันทั้งครอบครัว พ่อแม่ หรือญาติพี่น้อง ก็มักเป็นโรคนี้ด้วย  นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุอย่างอื่น เช่นได้แก่ อ้วนเกินไป, เกิดจากการใช้ยาบางตัว เช่น สเตอรอยด์, ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย, โรค Pheochromocytoma (เนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง) โรคคุชชิง เป็นต้น


Q 5 : อาการบ่งชี้เบื้องต้นที่แสดงออกให้เห็นว่า เป็นโรคเบาหวาน และกลุ่มที่เสียงต่อการเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง ??
A 5 :  อาการเบื้องต้น ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย, หิวน้ำ ดื่มน้ำบ่อย, กินจุ แต่น้ำหนักลด, อ่อนเพลีย, เป็นแผลหายยาก  ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ ควรสงสัยว่าเป็นเบาหวาน จึงควรไปเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาล ในสถานพยาบาล และควรได้รับการตรวจเลือดอีกหนึ่งครั้งในวันอื่น หากพบค่าผิดปกติ 2 ค่า จึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากนี้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่
1)  พ่อ แม่ พี่ น้อง ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 
2)  อ้วน, อ้วนลงพุง (โดยผู้หญิง มีรอบพุง มากกว่า/หรือเท่ากับ 80 ซม., ผู้ชาย มีรอบพุง มากกว่า/หรือเท่ากับ 90 ซม.
3)   มีความดันโลหิตสูง มากกว่า/หรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท หรือได้ใช้ยาลดความดันโลหิต
4)  ไขมันไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า/หรือเท่ากับ 250 มก./ดล. และไขมันคอเลสเตอ
     รอลดี (HDL) มีค่าน้อยกว่า 250 มก./ดล.
5)  มีประวัติเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ บุตรแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม
6)  ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ หลอดเลือดที่มาเลี้ยงขาหรือเท้าตีบ มีถุงน้ำหลายถุงที่รังไข่
*อาการเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสียงสูง ให้รีบตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด และพบว่าระดับพลาสมากลูโคสขณะอดอาหาร มีค่าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป ถือว่าท่านเป็นเบาหวาน

Q 6 : การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวิเคราะห์โรคเบาหวาน มีวิธีการอย่างไร?
A 6 : การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ให้ตรวจในเวลาเช้าหลังอดอาหารข้ามคืน มาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose, FPG)  ค่า FPG จะเป็นตัวบ่งบอกว่า ท่านเป็นโรคเบาหวานแล้วหรือยัง?

ระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) มิลลิกรัม/เดซิลิตร
นคนปกติ  มีค่า FPG  70 – 99 มก./ดล.
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน  มีค่า FPG อยู่ระหว่าง 100 – 125 มก./ดล.
ผูป่วยเบาหวาน  มีค่า FPG  มากกว่า/หรือเท่ากับ  126 มก./ดล.

Q 7 : น้ำตาลที่อยู่ในเลือด มาจากไหน ?
A 7 : เมื่อเรารับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท เช่น ข้าว ก๊วยเตี๋ยว ขนมปัง มันฝรั่ง ขนมหวาน น้ำหวาน อาหารเหล่านี้ จะถูกย่อยจนเป็นน้ำตาลที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย  หากเรารับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทมากเกินความจำเป็นของร่างกาย น้ำตาลส่วนเกินเหล่านี้จะถูกแปรสภาพไขมันสะสมในตับ หรือเป็นไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สะสมตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย  และการที่ร่างกายจะนำน้ำตาลเหล่านี้ไปใช้เป็นพลังงาน หรือเก็บสะสมไว้ในร่างกายได้ จำเป็นต้องอาศัยฮอร์โมนที่สำคัญ เรียกว่า “อินซูลิน”  ซึ่งมาจากตับอ่อน

Q 8 :  การทำงานของ อินซูลิน และ ตับอ่อน มีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง??
A 8 :  ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องท้อง วางตัวอยู่ใต้ลิ้นปี่ ด้านหลังของลำไส้เล็กและกระเพาะอาหาร  มีหน้าที่สำคัญคือ สร้างน้ำย่อย (pancreatic juice) เพื่อช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน นอกจากนี้ ตับอ่อนยังมีบทบาทในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) และกลูคากอน (glucagon) ออกสู่กระแสเลือด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเกี่ยวกับขบวนการเผาผลาญโดยเฉพาะน้ำตาลของร่างกายมนุษย์

อินซูลิน (Insulin) คือฮอร์โมน ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณกลูโคสในเลือด นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นสื่อนำน้ำตาลกลูโคสเข้าไปในเซลส์  เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย  ในคนปกติแม้ไม่ได้รับประทานอาหาร ตับยังคงมีการสร้างน้ำตาล เพื่อใช้เป็นพลังงานของสมองและอวัยวะอื่น ทำให้มีการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนระดับต่ำ ๆ อยู่ตลอดเวลา หลังการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว และแป้ง จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสในลำไส้เล็ก และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นใน
เลือดจะเป็นตัวกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพิ่มขึ้น เพื่อเผาผลาญน้ำตาลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ

ดังนั้น หากร่างกายมีปริมาณอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้อินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ น้ำตาลกลูโคสจะไม่สามารถผ่านเข้าไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ ทำให้มีระดับน้ำกลูโคสในกระแสเลือดสูงขึ้น และสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน




Q 9 : การควบคุม หรือป้องกันโรคเบาหวาน มีวิธีการอย่างไร?
A 9 : การควบคุมโรคเบาหวาน ประกอบด้วย
1. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
2. การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
3. การควบคุมความดันโลหิต
4. การควบคุมระดับไขมันในเลือด
5. งดสูบบุหรี่

เกณฑ์การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
-  ระดับน้ำตาลในเลือดเวลาเช้า หลังอดอาหารมาอย่างน้อย ชั่วโมง = 70-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
-  ระดับน้ำตาลในเลือด หลังมื้ออาหาร 2 ชั่วโมง ควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร
-  ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1c) ควรน้อยกว่า 7 %

เกณฑ์การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
วัดจากค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI) ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณจากน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูงเป็นเมตรสองครั้ง จะบอกถึงน้ำหนักตัวที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
ดัชนีมวลกาย (กิโลกรัม/ตารางเมตร)
-  คนปกติ                   มีค่า BMI  = 18.5 – 22.9
-  ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน     มีค่า BMI มากกว่า/หรือเท่ากับ 23 – 24.9
-  คนอ้วน                   มีค่า BMI มากกว่า/หรือเท่ากับ 25
*ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน จะทำให้มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือ อินซูลินออกฤทธิ์ไม่ได้ตามปกติ หลังจากที่ลดน้ำหนักตัวลงแล้ว อินซูลินในร่างกายจะออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

การควบคุมความดันโลหิต
ผู้ที่เพิ่งทราบว่าเป็นโรคเบาหวานพบว่า มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยได้ถึงร้อยละ 30–40
-  การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ คือค่าความดันโลหิตตัวบนควรมีค่าต่ำกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างควรมีค่าต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท จะช่วยทำให้การทำงานของไตดีขึ้น

การควบคุมระดับไขมันในเลือด
ผู้เป็นโรคเบาหวาน จะมีความผิดปกติของไขมัน คือ มีไตรกลีเซอไรด์สูง ไขมันไม่ดี (LDL) สูง ไขมันดี (HDL) ต่ำ ทำให้เพิ่มความสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ การควบคุมระดับไขมันในเลือดในผู้เป็นโรคเบาหวาน จึงเป็นสิ่งที่ควรทำให้ได้ ตามเกณฑ์ดังนี้
 เกณฑ์ควบคุมระดับไขมันในผู้ป่วยเบาหวาน
-  ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์  น้อยกว่า  150 มล./ดล.
-  ระดับไขมันไม่ดี (LDL) น้อยกว่า  100 มล./ดล. (และให้น้อยกว่า 70 มล./ดล. ในผู้ที่โรคหัวใจร่วมด้วย)
-  ระดับไขมันดี (HDL)  สูงกว่า 40 มล./ดล. (ผู้ชาย),  สูงกว่า 50 มล./ดล. (ผู้หญิง)

งดสูบบุหรี่
-  การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว และเกิดหลอดเลือดแดงตีบตันได้ง่ายขึ้น  ดังนั้น ผู้เป็นโรคเบาหวาน จึงควรงดสูบบุหรี่







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ