อาการนอนไม่หลับ
ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่หลาย ๆ คน คงเคยมีประสบการณ์ แต่ในบางคนอาการนอนไม่หลับ
มีอาการรุนแรงและยาวนาน จนถึงขั้นเป็น "โรคนอนไม่หลับ" ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
ในผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยควรนอนให้ได้ประมาณ 7-8 ชม. โดยให้สังเกตว่าตราบใดที่ตื่นนอนขึ้นมาแล้วมีความสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย
สมองแจ่มใส ทำงานได้ดีตามปกติ ไม่ง่วง
หวาวหาวนอน มีการตัดสินใจแก้ปัญหาได้ดี ถือว่าได้นอนเพียงพอแล้ว
ซึ่งบางคนอาจจะนอนเพียง 5-6 ชม. เท่านั้น
อาการนอนไม่หลับ มีหลายรูปแบบ เช่น เข้านอนแล้วหลับยาก, ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้
หรือตื่นเช้ามืดกว่าปกติแล้วหลับต่อไม่ได้ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้ผู้ที่นอนไม่หลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
มักจะมีอาการอ่อนเพลียในตอนกลางวัน สมองไม่ปลอดโปร่ง อาจจะหงุดหงิด ง่วงซึม
หรือหลับมากในตอนกลางวัน ประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงานลดลง
สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ มีดังนี้
1. สาเหตุทางด้านจิตใจ
ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นทำให้นอนไม่หลับได้บ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว
การงาน เศรษฐกิจ หรือครอบครัว ในบางรายมีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับได้ง่าย
เช่น เป็นคนชอบคิดมากคิดเล็กคิดน้อย
หรือร่างกายไวหรือตื่นตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้เร็ว เช่น
ได้ยินเสียงอะไรเล็กน้อยก็จะรู้สึกตัวตื่นอยู่เรื่อย ๆ
2. ความเจ็บป่วยทางจิตเวช
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มักจะนอนไม่หลับ โดยเฉพาะหลับแล้วตื่นขึ้นมากลางดึก จะทำให้หลับต่อยาก
ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนที่มีภาวะโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีความรู้สึกอ่อนเพลีย
ไม่มีเรี่ยวแรง ใจคอที่หดหู่ เศร้าหมอง ไม่เบิกบาน ไม่สดชื่น ความคิดช้า
ความจำไม่ค่อยดี ใจจดใจจ่ออะไรนาน ๆ ไม่ได้ มักมีเบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย สาเหตุของอาการเหล่านี้ ส่งให้เกิดความผิดปกติของการนอนหลับ
โรควิตกกังวลชนิด somatized tension พบได้บ่อยที่เป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ
3. ความเจ็บป่วยทางกาย
อาการปวด ได้แก่ อาการปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดจากสาเหตุอื่นใดก็ตามที่รบกวนคุณภาพและประสิทธิภาพการนอนหลับอย่างมาก
- หยุดหายใจเป็นพักๆ ในขณะหลับ ทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นพัก ๆ อาจรู้สึกได้ว่าคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดีพอ หลับได้ไม่ลึก ไม่สดชื่น อาการหยุดหายใจจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจหลายสิบครั้งจนกระทั่งถึงหลายร้อยครั้งได้ในแต่ละคืน
- อาการขากระตุกเป็นพัก ๆ ระหว่างหลับ ในบางรายจะพบว่าในขณะที่หลับนั้น กล้ามเนื้อที่ขาจะมีอาการกระตุกเร็ว ๆ เป็นพัก ๆ ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะประมาณทุก ๆ 30-45 วินาที และอาจจะต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หลายรอบต่อคืน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ จะทำให้สมองตื่นเป็นพัก ๆ โดยที่ผู้นั้นอาจไม่รู้สึกตัวตื่น แต่ในตอนตื่นเช้าจะรู้สึกว่าคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดี
4. รูปแบบการใช้ชีวิต
เวลาการเข้านอน หลายคนมักเข้านอนไม่เป็นเวลา และแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคืน
รวมถึงคนที่ต้องทำงานเป็นกะด้วย อาจจะทำให้มีผลต่อการนอน การปรับเวลาเข้านอน-ตื่นนอนให้สม่ำเสมอ
จะช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้
การใช้สารเสพติดหลายชนิดมีฤทธิ์กระตุ้นสมอง มีผลต่อการนอนหลับ โดยความไวของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้
ขึ้นกับโปรตีนตัวรับในสมอง เช่น
- กาแฟ มีคาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นสมอง ทำให้มีผลต่อการนอนหลับ โดยพบว่าจะหลับได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการดื่มกาแฟใกล้เวลาเข้านอน
- สารนิโคตินในบุหรี่ ออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่บ่อย มักมีปัญหาหลับได้ยากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- เครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ การดื่มก่อนนอนอาจช่วยทำให้ง่วงหรือรู้สึกหลับได้ง่ายขึ้น แต่ผลที่ตามมาหลังจากแอลกอฮอล์ถูกเผาผลาญในร่างกายประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังจากนั้น จะทำให้เกิดสารที่ไปรบกวนการนอนหลับ โดยมักจะหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับไม่ลึก ตลอดทั้งคืน
ประเภทของโรคนอนไม่หลับ แบ่งออกเป็น 3
ประเภท
การนอนไม่หลับ
แบบชั่วคราว : คือ นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์ ซึ่งหลายคนอาจจะเคยประสบกับปัญหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเครียด หรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
เช่น ทะเลาะกับเพื่อนหรือแฟน, มีปัญหากับที่ทำงาน หรือใกล้ ๆ วันสอบ หรือวันที่ต้องมีธุระสำคัญ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน
(
การนอนไม่หลับ
แบบระยะต่อเนื่อง : คือ มีอาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้น ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดนั้นยังไม่คลี่คลาย
เช่น การตกงาน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ซึ่งโดยทั่วไปถ้าปัญหาต่าง ๆ ได้รับการคลี่คลาย
การนอนหลับก็มักจะกลับมาเป็นปกติได้
การนอนไม่หลับ
แบบเรื้อรัง : คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ อย่างต่อเนื่องเกือบทุกคืน
ติดต่อกันหลายเดือน หรือแม้กระทั่งเป็นปี มีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซับซ้อน
ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความเครียดเพียงอย่างเดียว จึงมีอาการนอนไม่หลับหลายครั้ง
ถึงแม้ว่าความเครียดได้เบาบางหรือหายไปหมดแล้ว แต่อาการนอนไม่หลับก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อ
บางคนใจจดใจจ่อตลอดเวลาว่า คืนนี้จะหลับหรือไม่?? ถ้าไม่หลับแล้วพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร? จะทำงานได้อย่างแจ่มใสหรือไม่? ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวการนอน ไม่กล้าที่จะนอน
เลยทำให้แทนที่เวลานอนจะเป็นเวลาที่ให้ความสุข
กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความทุกข์และทรมาน
สารอาหารที่ช่วยให้นอนหลับ
สารอาหารที่ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ
ได้แก่ กลุ่มวิตามินบี และเกลือแร่ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม รวมทั้งกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย
ซึ่งถ้าร่างกายขาดอาจจะทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับ
- ไนอะซิน (หรือวิตามินบี 3 มีโครงสร้างทางเคมีใกล้เคียงกับกรดอะมิโนทริปโตเฟน) ช่วยให้ระบบประสาททำงานเป็นปกติ ปัจจุบันได้นำมาใช้ในการป้องกันโรคซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ นอกจากนั้น ยังใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม รูมาตอยด์ ในผู้สูงอายุ
- วิตามินบี 6 มีความสำคัญในการสร้างสารเซโรโทนินในสมอง สารตัวนี้ช่วยควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ ผู้ที่ได้รับวิตามินบี 6 จากอาหารไม่เพียงพอ อาจมีอาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า หงุดหงิด
- วิตามินบี 12 ช่วยให้อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ดีขึ้น หากนำมาทานเป็นวิตามินเสริมอาหาร เมื่อหยุดทานอาการจะกลับมาอีก ดังนั้น จึงต้องทานในปริมาณสูงถึงจะช่วยแก้ไขอาการนอนไม่หลับได้ และจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- วิตามินบี 1 (หรือไทอามิน) เป็นวิตามินที่ร่างกานไม่สามารถสร้างได้เอง มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท
- กรดโฟลิก (หรือวิตามินบี 9) ถ้าร่างกายขาดจะทำให้เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีอาการเครียด วิตกกังวล อารมณ์เสีย จึงเป็นสารอาหารที่ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
- แคลเซียม และแมกนีเซียม แร่ธาตุทั้งสองจะทำงานร่วมกัน ช่วยในการทำงานของระบบประสาท ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การขาดแร่ธาตุหนึ่งในสองตัวนี้จะทำให้เกิดตะคริว และรบกวนการทำงานของเส้นประสาท มีผลทำให้นอนไม่หลับ
- ทองแดง และธาตุเหล็ก ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ถ้าขาดทองแดงจะทำให้หลับช้า แต่หลับนานขึ้นและมีความรู้สึกเหมือนนอนไม่อิ่ม ส่วนการขาดธาตุเหล็กทำให้นอนเร็วขึ้น นอนนานขึ้น แต่ตื่นกลางดึกบ่อยขึ้น
- ทริปโตแฟน (เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นแก่ร่างกาย) ถูกนำมาใช้ในการสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งช่วยในการควบคุมการนอนหลับ และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของสารเมลาโทนิน ซึ่งมีผลต่ออารมณ์และการนอนหลับ นักวิจัยพบว่า การเสริมสารทริปโตแฟนช่วยเพิ่มระดับโซโรโทนินและทำให้นอนหลับเร็วขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ และยังทำให้หลับสนิทด้วย
น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์
หรือ Black Seed Oil มีสารอาหารที่ช่วยให้นอนหลับ ดังกล่าวข้างต้นอย่างครบถ้วน จึงมีสรรพคุณในการรักษาอาการนอนไม่หลับ
หรือโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การเลือกใช้ KAMIL
HABBATUSSAUDA รับประทานวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร
เช้า-กลางวัน-เย็น มื้อละ 2-3 แคปซูล จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางเลือกหนึ่งในการรักษาและดูแลตนเอง
อาหารที่ช่วยให้นอนหลับ
1. เครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอน ประเภทมอลต์สกัด เช่น โอวัลติน หรือไมโล
(ไม่ต้องหวานมาก)
2. เครื่องดื่มชาสมุนไพรต่าง เช่น มะตูม เก๊กฮวย เป็นต้น (ยกเว้น ในผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะบ่อย
อาจทำให้ต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำ แล้วนอนต่อไม่หลับได้ง่าย ๆ)
3. นมชนิดหวานทำให้หลับได้ง่าย เพราะน้ำตาลจะช่วยทำให้เซลล์สมองดูดซึมกรดอะมิโน
ทริปโตฟาน จากกระแสโลหิตไปเปลี่ยนเป็นสาร Serotonin เพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย
4. อาหารจำพวกแป้ง โดยแป้งมีฤทธิ์คล้ายยาระงับความวิตกกังวล
หรือทำให้กลูโคสในกระแสเลือดสูงขึ้น กระตุ้นการหลั่ง Serotonin (อาจเพิ่มน้ำหนักตัวด้วยเหมือนกัน)
5. น้ำผึ้ง สามารถใช้เป็นยาระงับประสาทอ่อน ๆ ได้ โดยชงผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยในนมอุ่น
ๆ หรือชาสมุนไพร
สรุป : การดื่มนมอุ่น ๆ 1 แก้ว ผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย
แล้วใส่น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ 1 ช้อนชา หรือ KAMIL
HABBATUSSAUDA 1 แคปซูล เป็นเครื่องดื่มก่อนนอน ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ