วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)


มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia/ลูคีเมีย) เป็นโรคมะเร็งของไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อในระบบโลหิตวิทยา โดยเกิดจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดในปริมาณผิดปกติ โดยทั่วไปจะสร้างในปริมาณสูงขึ้น แต่ผู้ป่วยบางรายปริมาณเม็ดเลือดขาวอาจปกติ หรือต่ำกว่าปกติได้ นอกจากนี้อาจพบว่า มีการทำงานที่ผิดปกติของเม็ดเลือดขาวด้วย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบ่งตามลักษณะของเม็ดเลือดออกเป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟซิติก (Lymphocytic leukemia) และชนิด มัยอีโลจีนัส (Myelogenous leukemia) และทั้งสองชนิดยังแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน (Acute) และชนิดเรื้อรัง (Chronic)


เป็นความผิดปกติที่เกิดในระยะที่เซลล์เม็ดเลือดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มักเกิดกับเซลล์ Lymphoblast หรือ Myeloblast เซลล์เหล่านี้จึงไม่สามารถพัฒนาต่อไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สมบูรณ์ได้ ร่างกายจึงขาด T-cell, B-Cell และ Natural Killer รวมทั้ง Granulocyte ชนิดต่างๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างมาก
นอกจากนี้ เซลล์เม็ดเลือดที่เป็นมะเร็งยังไปเบียดบังการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย มีเลือดออกผิดปกติ ติดเชื้อได้ง่ายและเสียชีวิตในเวลาอันสั้น


เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระยะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว พบมากในเซลล์ Granulocyte และ B lymphocyte ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะอย่าง แต่เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดอื่นๆ ยังทำงานได้อยู่ โรคจึงไม่แสดงอาการรุนแรงมากนัก ผู้ป่วยลูคีเมียส่วนใหญ่มักเป็นโรคลูคีเมียชนิดเรื้อรัง แบบ CLL ที่เกิดกับเซลล์ B lymphocyte หรือ ที่เรียกว่า B-cell
โดยปกติแล้วเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค รวมทั้งคอยตรวจสอบเซลล์ที่ผิดปกติ และทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดขาวผิดปกติเสียเอง ย้อนกลับมาทำร้ายร่างกายเสียเอง การรักษาเยียวยาจึงเป็นเรื่องยาก

ดังนั้น เราจึงพบมะเร็งเม็ดเลือดขาว ตามชนิดและลักษณะได้ 4 แบบ
  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (acute myeloid leukemia หรือ AML) พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ (acute lymphoid leukemia หรือ ALL) พบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี รวมถึงในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอีกด้วย
  3. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ (chronic myeloid leukemia หรือ CML) พบในผู้ใหญ่ ไม่ค่อยพบในเด็ก
  4. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบลิมฟอยด์ (chronic lymphocytic leukemia หรือ CLL) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี และสามารถพบในเด็กได้บ้าง แต่ไม่ค่อยส่งผลกระทบเท่าไหร่
มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีสาเหตุจากอะไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่การศึกษาระบุว่า น่าจะมาจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ พันธุกรรมผิดปกติหลายชนิดร่วมกัน หรืออาจจากได้รับรังสีชนิดต่าง ๆ ในปริมาณสูง เช่น จากอุบัติเหตุ โรงไฟฟ้าปรมาณู และบางการศึกษาพบว่า อาจจากติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสเฮชทีแอลวี (Human T-lymphotropic virus Type I หรือเรียกย่อว่า HTLV-1)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอาการอย่างไร?
อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากไขกระดูกปกติทำงานลดลง ได้แก่
  1. มื่อมีเม็ดเลือดขาวปกติลดลง ผู้ป่วยจะติดเชื้อได้ง่าย มักมีไข้สูง เป็นๆ หายๆ บ่อยกว่าคนทั่วไป เพราะเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ให้ภูมิคุ้มกันป้องกันโรค
  2. เมื่อมีเม็ดเลือดแดงลดลง จะเกิด ภาวะซีด อาการซีดทำให้เหนื่อยง่าย อาจบวมหน้า หรือเท้า และเมื่อซีดมากอาจเกิดโรคหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายได้
  3. เมื่อมีเกล็ดเลือดลดลง จะมีเลือดออกง่าย เช่น เลือดออกบ่อยขณะแปรงฟัน มีเลือดกำเดา และมีห้อเลือดง่าย และมีจุดเลือดออกตามตัวเล็ก ๆ แดง ๆ คล้ายจุดที่เกิดในไข้เลือดออก
มะเร็งเม็ดเลือดขาวรุนแรงไหม?
มะเร็งเม็ดเลือดขาว จัดเป็นมะเร็งมีความรุนแรงสูง ความรุนแรงของโรคขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น อายุ ชนิดของเซลล์มะเร็ง จำนวนเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดที่ตรวจครั้งแรก และการมีโรคแพร่กระจายเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นที่ไม่ใช่ไขกระดูก
รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างไร?
  1. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน โดยตัวยาและระยะเวลาในการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค
  2. การใช้รังสีรักษา มักจำกัดอยู่ในโรครุนแรงบางโรค เช่น การฉายรังสีบริเวณสมองในมะเร็งเม็ดเลือดขาว ALL และการฉายรังสีบริเวณม้ามในมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
  3. การปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งใช้ได้ผลในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด ในโรคกลุ่มรุนแรง โรคดื้อต่อยาเคมีบำบัด หรือเมื่อมีโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ
  4. ยารักษาตรงเป้า สามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิดได้ แต่ยายังมีราคาแพงมหาศาลเกินกว่าผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงยาได้

Credit : haamor.com, vcharkarn.com

1 ความคิดเห็น:

  1. KAMIL HABBATUSSAUDA มีผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง ป่วยเป็นลูคีเมีย เธอได้รับประทาน ฮับบาตุซเซาดะฮ์ ของ KAMIL ได้ไม่นาน แล้วทำให้อาการของเธอดีขึ้นมาก หากเป็นไปได้ KAMIL จะเชิญเธอหรือสามีของเธอที่ให้การดูแลเธอ มาแชร์ประสบการณ์การในการใช้ KAMIL HABBATUSSAUDA :))

    ตอบลบ

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ