วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เมลาโทนิน (Melatonin) ฮอร์โมนที่ช่วยการนอนหลับ และต้านความชรา



เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกสร้างโดย ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ในสมอง การหลั่งของเมลาโทนินเกี่ยวข้องกับช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน กล่าวคือ ในเวลากลางวัน เมื่อเรติน่าในลูกนัยน์ตารับแสงก็จะส่งกระแสประสาทไปยัง Sympathetic nervous system ซึ่งเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ และส่งต่อไปยังต่อมไพเนียล เพื่อยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน  แต่จะหลั่ง ฮอร์โมนเซโรโทนีน (serotonin) ออกมา เพื่อกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของคนเราเริ่มทำงาน ทำให้เกิดความกระฉับกระเฉง มีอารมณ์แจ่มใส  ครั้นเมื่อถึงเวลากลางคืน แสงอาทิตย์หายไปจากโลก ความมืดเข้ามาแทนที่ทำให้แสงสว่างหายไปจากจอรับภาพของดวงตา  สัญญาณแห่งความมืดก็จะกระตุ้นให้ต่อมไพเนียลทำหน้าที่สังเคราะห์ “เมลาโทนิน” ออกมา เพื่อเตือนให้ร่างกายต้องการพักผ่อน และเหนี่ยวนำให้เกิดการง่วงนอนและนอนหลับสนิท  ครั้นเมื่อร่างกายและจิตใจเข้าสู่ภวังค์หลับสนิทแล้ว ฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่ง ในการเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ หรือสารต่อต้านไม่ให้ร่างกายเสื่อมก่อนวัย หรือที่บางคนอาจเรียกว่า “สารต่อต้านความชรา” (Anti-aging) ก็จะไปกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในตอนกลางวัน ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน หรืออนุมูลอิสระที่เกิดจากความเครียดและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ก็จะถูกกำจัดออกไปด้วย

ในขณะเดียวกัน เมื่อเรานอนหลับสนิทต่อมไร้ท่อในสมองอีกต่อมหนึ่ง คือ ต่อมไฮโปทารามัส (Hypothalamus) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความหิว ความกระหาย เรื่องเซ็กส์ และเป็นนาฬิกาชีวิต ซึ่งควบคุมอายุของมนุษย์ จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน จีเอ็น อาร์เอช (Gn RH) ออกมา ในเพศหญิงจะไปกระตุ้น การเจริญของไข่ในรังไข่ และกระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนเอสโทรเจน  และในเพศชายจะไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย หรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ช่วยในการสร้างสเปิร์ม (sperm) ซึ่งจะมีระดับสูงสุดในช่วงตอนเช้าประมาณ 5-7 โมงเช้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานตลอดวัน  และช่วยให้คุณผู้ชายกล้ามเนื้อแข็งแรง กระฉับกระเฉง มีความตื่นตัวในการทำงานสู้กับชีวิต  ดังนั้น ถ้าร่างกายหลับสนิทฮอร์โมนต่าง ๆ ก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่

หน้าที่สำคัญของต่อมไพเนียล (Pineal gland)
ก็คือ การทำหน้าที่ส่งคำสั่งเชื่อมโยงไปยังต่อมและอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยอาศัยเส้นใยประสาท สารสื่อนำประสาท และควบคุมต่อมใต้สมอง ซึ่งจะควบคุมต่อทอดไปยังต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะอีกด้วย ต่อมเหล่านี้นี่เองที่เป็นผู้บงการระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทั้งการเจริญเติบโต การเผาผลาญอาหาร การเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน การเสริมสร้างร่างกายและเนื้อเยื่อ การตอบรับความเครียด การสร้างเสริมระบบภูมิต้านทาน การตกไข่ การมีประจำเดือน การสนองต่ออารมณ์ทางเพศ และอื่น ๆ อีกมากมาย  ดังนั้น เส้นใยประสาท สารสื่อนำประสาท และฮอร์โมนจากต่อมที่อยู่ใต้คำบัญชาของต่อมไพเนียลนี้เอง จึงมีความสำคัญโยงใยกัน ไปหมด  นี่คือเหตุผลสำคัญที่ให้คำตอบได้ว่า “การนอนหลับได้ดี” ส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย  ถ้าหากเรานอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทติดต่อกัน จนกลายเป็น “โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง” แน่นอนว่าร่างกายของเราก็จะเสียสมดุล และเกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งนำมาสู่โรคภัยไขเจ็บนั่นเอง

นอกจากนี้ ฮอร์โมนเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยต่อมไพเนียล โดยอาศัยกรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ทริปโตเฟน” (Tryptophan)  จะทำหน้าที่ในวินาทีแรกที่คนเราลืมตาขึ้นมา เมื่อได้พบกับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์นั้น แสงสว่างจะผ่านเลนส์แก้วตาไปตกกระทบกับจอรับภาพของลูกนัยน์ตา ซึ่งจะมีเส้นปลายประสาทมาเลี้ยง  ส่วนหนึ่งของสัญญาณจะถูกส่งไปยังสมองที่ต่อมไพเนียล  เมื่อต่อมไพเนียลได้รับสัญญาณดังกล่าวก็จะเริ่มสร้างฮอร์โมนเซโรโทนิน  เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายของคนเราเริ่มทำงาน อวัยวะต่าง ๆ จะเริ่มทำงานสอดคล้องกันอย่างกระฉับกระเฉง มีอารมณ์แจ่มใส และสามารถทำงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันนั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากบทบาทหน้าที่ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เมลาโทนินมิได้มีหน้าที่แต่เฉพาะในการควบคุม “ระบบวัฏจักรประจำวันของร่างกาย” ในส่วนที่เกี่ยวกับการนอนหลับเท่านั้น  แต่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์  ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant)  รวมถึงกลไกต้านการชราภาพของร่างกาย (Anit-aging)  โดยมีรายงานทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองว่า เมลาโทนนินสามารถกำจัดอนุมูลอิสระ  มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น  และลดการถูกทำลายของเซลล์ได้   ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้มีการศึกษาการใช้เมลาโทนินในการรักษาโรคต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น โรคอัลไซเมอร์  โรคพากินสัน  โรคหัวใจและหลอดเลือด  และโรคมะเร็ง   

เนื่องจาก อาการนอนไม่หลับ เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ช่วงของการนอนหลับจะมีการเปลี่ยนแปลง  โดยที่ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน และผู้สูงอายุ ช่วงเวลาของการนอนหลับลึกจะสั้นกว่าผู้ที่อยู่ในช่วงเด็กหรือวัยรุ่น  อีกทั้งผู้สูงอายุยังมีโอกาสเสี่ยงต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทบต่อการนอนหลับได้มากกว่า เช่น โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ภาวะทางจิตใจ ภาวะเครียด เป็นต้น  ในขณะที่รายงานการวิจัยพบว่า ความต้องการในการนอนหลับของคนเราคงที่ตลอดช่วงชีวิต คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน  ไม่ว่าในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ในช่วงวัยทองแล้วก็ตาม  ปัญหาของอาการนอนไม่หลับ จึงนับเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

กระแสการใช้สารสกัดเมลาโทนินจึงมาแรง โดยในปัจจุบันได้มีตัวยาหลายชนิด ที่สามารถใช้รักษาหรือบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ และมีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับตัวยาเหล่านี้  ซึ่งถึงแม้ว่าจะช่วยทำให้ การนอนหลับเป็นไปอย่างง่ายขึ้น หรือช่วยลดจำนวนครั้งในการตื่นนอนระหว่างคืนได้ แต่ตัวยาเหล่านี้ก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ อาการเพลีย และอาจรู้สึกง่วงซึมได้ในวันถัดไป รวมทั้งอาจมีอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าเดิมเกิดขึ้นหลังจากการหยุดยา

ในช่วงปี คศ.1980 เมลาโทนิน (Melatonin) ได้ถูกนำมาใช้โดยแพทย์ในสหรัฐอเมริกา เพื่อการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการนอนหลับ และต่อจากนั้นมาก็ได้มีการนำมาใช้เพื่อลดอาการ Jet Lag (อาการที่เกิดจากผู้ที่เดินทางไกลโดยเครื่องบิน), เพิ่มภูมิคุ้มกัน, ต้านเนื้อร้ายของโรคมะเร็ง และทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น เป็นต้น ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้มียอดขายที่สูงมากในร้านยาและร้านจำหน่ายอาหารเสริมสุขภาพ  ทั้งในสหรัฐอเมริกาและแม้กระทั่งในทวีปเอเซีย

เนื่องจาก เมลาโทนิน (Melatonin) พบได้ตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด จึงถูกจัดเป็นอาหารเสริมในสหรัฐอเมริกา  ซึ่งหมายความว่า ผลิตภัณฑ์นี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศ และไม่มีการควบคุมการผลิตและคุณภาพอย่างเข้มงวดเหมือนผลิตภัณฑ์ที่ถูกจัดว่าเป็นยาทั่วไป แต่ในประเทศไทยเองนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดประเภท เมลาโทนิน เป็นยาชนิดหนึ่ง  ดังนั้น เมลาโทนิน จึงถูกควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวด และไม่สามารถจดทะเบียนเป็นอาหารเสริมได้ในประเทศไทย

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเมลาโทนิน (Melatonin)


  • เด็ก สตรีที่ตั้งครรภ์ และมารดาที่ให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยที่มีโรคภูมิแพ้ที่รุนแรง
  • ผู้หญิงที่มีความประสงค์จะตั้งครรภ์ เนื่องจากการใช้ Melatonin ในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดผลในการยับยั้งการตกไข่ในผู้หญิงได้
  • ผู้ที่ทำงานกับเครื่องจักรกลที่มีความอันตราย เนื่องจากการใช้ Melatonin อาจทำให้เกิดการง่วงซึมได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน
  • ผู้ป่วยโรคลมชัก
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และมีการใช้ยานอนหลับ หรือสมุนไพรในการรักษาอาการนอนไม่หลับ


ข้อเสนอแนะของ KAMIL HABBATUSSAUDA
ในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ มีองค์ประกอบของสารอาหารทางพฤกษเคมีมากมายกว่า 100 ชนิด รวมทั้งกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท  และหนึ่งในนั้น ก็คือ แอล-อาร์จินีน (L-Arginine) ที่ถือว่าเป็น "โมเลกุลมหัศจรรย์" ที่ช่วยในเรื่องการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการคงความเป็นหนุ่มเป็นสาว ช่วยชะลอความชรา (anti-aging), และทำให้นอนหลับสนิทอย่างมีความสุข (deeply satisfying sleep)
ดังนั้น หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ และจำเป็นต้องใช้ยาช่วยในการนอนหลับ หรือกำลังมองหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่าย  เราขอนำเสนอ KAMIL HABBATUSSAUDA น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Black Seed Oil 100% เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ที่ไม่มีพิษภัยหรือผลข้างเคียงใด ๆ ในการรับประทาน และสามารถใช้ได้ผลกับผู้ที่ต้องการรับประทานสารอาหารที่ช่วยต้านความชรา และมีปัญหาโรคภัยไขเจ็บที่มาจการความเสื่อมของระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย..นะคะ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ