วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฮับบาตุซเซาดะฮ์ รักษาอาการปัสสาวะรดที่นอนในเด็กสาว ได้หรือไม่??


ลูกค้าของ KAMIL รายหนึ่ง ได้นำปัญหาความกังวลของเพื่อนมาปรึกษา เนื่องจากเพื่อนของเธอมีลูกอยู่ในวัยสาวแล้ว แต่ยังคงฉี่รดที่นอนอยู่ เธอจึงได้พาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คทุกระบบในร่างกายแล้ว ไม่พบสาเหตุของความผิดปกติทางกายแต่อย่างใด  จึงได้สอบถามว่า ฮับบาตุซเซาดะฮ์สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้หรือไม่??
KAMIL HATUSSAUDA จึงได้ค้นหาข้อมูลเรื่องดังกล่าว และได้พบบทความทางวิชาการหนึ่ง ที่กล่าวไว้ชัดเจนและครอบคลุมในหลายด้าน ๆ ของสาเหตุแห่งปัญหา เขียนโดย ผศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สวงนศรี (เว็บไซด์ : ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย) จึงขอสรุปประเด็นที่สำคัญมานำเสนอ ดังนี้

 Enuresis หมายถึง อาการปัสสาวะรดที่นอน หรือเสื้อผ้าที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลานานอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน ในเด็กที่อายุมากกว่า 5 ปีหรือมีพัฒนาการเทียบเท่าแล้ว โดยไม่ได้เกิดจากผลทางสรีรวิทยาโดยตรงของสาร (เช่น ยาขับปัสสาวะ) หรือภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น การติดเชื้อ หรือความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ, เบาหวาน เป็นต้น)

Enuresis หรืออาการปัสสาวะรดที่นอน จำแนกเป็น 2 ระดับ
1. Primary enuresis หมายถึง ผู้ป่วยยังไม่เคยหยุดปัสสาวะรดได้ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอเลย
2. Secondary enuresis หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะรดอีกหลังจากเลิกปัสสาวะรดแล้วอย่างน้อย 6-12 เดือน

ระบาดวิทยา enuresis ในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ พบว่ามีร้อยละ 1  โดยเพศชายมีมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า โดยผู้ป่วยมีโอกาสหายได้เองร้อยละ 15 ต่อปี และพบว่าร้อยละ 75-85 ของผู้ป่วยเป็น primary enuresis

การวินิจฉัยแยกโรค enuresis พบว่ามีเพียงร้อยละ 1 ของผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอน โดยมีสาเหตุมาจากโรคทางกายต่าง ๆ  ซึ่งอาการที่บ่งชี้ ได้แก่ อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางวัน ปัสสาวะลำบาก แสบขัด และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น

สาเหตุของโรค
1. พันธุกรรม เด็กที่พ่อหรือแม่มีประวัติ enuresis มีโอกาสเป็น enuresis ร้อยละ 44 และเด็กที่ทั้งพ่อและแม่มีประวัติ enuresis มีโอกาสสูงถึงร้อยละ 77
2. พัฒนาการล่าช้า ของกลไกควบคุมการปัสสาวะ ซึ่งอาศัยพัฒนาการของทั้งระบบประสาทอัตโนมัติ (sympathetic , parasympathetic) และ somatic nerve ที่ทำงานประสานกัน  (ในพัฒนาการปกติเด็กทั่วไปสามารถควบคุมการปัสสาวะตอนกลางคืนได้เมื่ออายุ 3 ปี)  ดังนั้น จึงพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะได้ และมักจะมีพัฒนาการทางเพศช้ากว่าเด็กปกติ
3. การหลั่งฮอร์โมน arginine vasopressin (AVP) ผิดปกติ มีการศึกษาที่พบว่าผู้ป่วย enuresis มีการหลั่งฮอร์โมน AVP ในเวลากลางคืนน้อยกว่าเด็กปกติ
**arginine vasopressin (AVP) เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของไต มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของน้ำ,น้ำตาล, และเกลือในเลือด
4. การนอนผิดปกติ จากผลการศึกษาพบว่าเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการนอน นอกจากนี้ยังพบว่า enuresis สัมพันธ์กับ sleep apnea syndrome (การหยุดหายใจในขณะหลับ) และ narcolepsy (ซึ่งเป็นทางระบบประสาทเกี่ยวกับการนอน ที่ไม่เกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตหรือปัญหาด้านจิตใจ) ด้วย
5. ปัจจัยด้านจิตสังคม เด็กที่เป็น enuresis ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม แต่ก็พบว่าเป็นโรคทางจิตเวชอื่นมากกว่าเด็กทั่วไป  บางคนอาจมีปัญหาด้านอารมณ์ หรือพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากอาการปัสสาวะรดที่นอนมากกว่าเป็นสาเหตุ  
( ( ( มีผู้อธิบายว่า enuresis เป็นการต่อต้านพ่อแม่ที่ฝึกขับถ่ายปัสสาวะด้วยความรุนแรง หรือการฝึกเร็วเกินไป หรือแสดงถึงพฤติกรรมที่เป็นเด็กกว่าวัยจากการเลี้ยงดูอย่างปกป้องและตามใจมากเกินไป และผู้ป่วยที่เป็น secondary enuresis มักเกิดภายหลังมีเรื่องตึงเครียด เช่น การหย่าร้างของพ่อแม่ ปัญหาเรื่องโรงเรียน การรักษาในโรงพยาบาล และการถูกละเมิดทางเพศ เป็นต้น ) ) )

แนวทางการรักษา
1. การให้ความรู้และคำแนะนำ  โดยเน้นว่า enuresis เป็นภาวะที่พบได้บ่อย มีโอกาสหายได้เองสูง ไม่ได้เป็นความผิดของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยก็ไม่ได้ต้องการปัสสาวะรดที่นอนเช่นเดียวกัน แต่ไม่สามารถควบคุมได้จริง ๆ  ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการลงโทษโดยไม่เหมาะสม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านจิตใจที่เป็นสาเหตุ แต่อาจเป็นผลตามมาจากการปัสสาวะรดที่นอน ได้แก่ ความรู้สึกอับอาย ขาดความมั่นใจ self-esteem ต่ำ วิตกกังวล และปัญหาด้านสังคม เป็นต้น  โดยคำแนะนำในการรักษาโดยทั่วไปประกอบด้วย
1.1 การจูงใจให้ผู้ป่วยต้องการควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนด้วยตนเอง ด้วยการพูดถึงผลดีที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่น พ่อแม่รู้สึกยินดีที่ผู้ป่วยสามารถไปนอนนอกบ้าน หรือเข้าค่ายกับเพื่อนได้โดยไม่ต้องกังวลใจ รวมทั้งความรู้สึกมั่นใจในตนเอง เป็นต้น
1.2  งดอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลา 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ จะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น น้ำอัดลมบางชนิด และชาเขียว เป็นต้น
1.3 ให้ปัสสาวะก่อนเข้านอนทุกคืน
1.4  เน้นให้การฝึกควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนเป็นความรับผิดชอบของผู้ป่วยเอง  ตั้งแต่ให้ผู้ป่วยบันทึกอาการปัสสาวะรดที่นอนด้วยตนเอง ลุกขึ้นมาปัสสาวะเองถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะ และให้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนหรือทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอน ผู้ป่วยบางคนปัสสาวะรดที่นอนลดลงมากหลังจากให้เริ่มบันทึกอาการด้วยตนเอง
1.5  งดการปลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยหยุดปัสสาวะรดที่นอนได้ช้ากว่าไม่ปลุก และมักทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่และผู้ป่วยมากกว่า
1.6  ใช้หลักพฤติกรรมบำบัด คือให้แรงเสริมทางบวก (positive reinforcement) เมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนได้  โดยใช้วิธีทำ star chart คือ ให้ผู้ป่วยติดสติกเกอร์รูปที่ตนเองชอบลงบนปฏิทินในวันที่ไม่ปัสสาวะรดที่นอน  และพ่อแม่อาจให้รางวัลด้วยการพูดชมเชย ของเล่น หรือสิทธิประโยชน์บางอย่าง เป็นต้น พ่อแม่ต้องช่วยติดตามการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ และพิจารณาให้รางวัลที่มีคุณค่ามากขึ้นถ้าผู้ป่วยควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนได้มากขึ้นในแต่ละสัปดาห์ที่ผ่านไป

**ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุมากกว่า 7-8 ปีแล้วยังไม่หยุดปัสสาวะรดที่นอน ควรพิจารณาให้การรักษาที่เจาะจงต่อไป ได้แก่
2. Enuresis alarm เป็นการรักษาที่อาศัยพื้นฐานความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้แบบ classical conditioning คือเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ผู้ป่วยตื่นนอนทุกครั้งเมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็ม เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลมากที่สุด พบว่าร้อยละ 60-90 ของผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำร้อยละ 15-40  การรักษาโดยใช้ enuresis alarm ต้องมีการทำบันทึกข้อตกลง การให้คำแนะนำ และการติดตามใกล้ชิดร่วมด้วย รวมทั้งการใช้ต่ออีกระยะหนึ่งหลังจากหยุดปัสสาวะรดแล้วจึงได้ผลดี เป็นวิธีการรักษาที่แนะนำให้เลือกใช้เป็นลำดับแรกก่อนการรักษาด้วยยา
3. การรักษาด้วยยา
4. จิตบำบัด ผู้ป่วยทุกคนควรได้รับการประคับประคองด้านจิตใจ ข้อบ่งชี้สำหรับการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด คือ มีสาเหตุเกิดจากปัจจัยด้านจิตใจเป็นสำคัญ เช่น ปัญหาการเลี้ยงดู การฝึกขับถ่ายปัสสาวะ มีความเครียดหรือมีความขัดแย้งรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น

คำตอบ จาก KAMIL HABBATUSSAUDA
จากบทความวิชาการข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาเรื่องการฉี่รดที่นอนในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่นั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคทางกาย (มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น)  ซึ่งสรุปสาเหตุที่มาของอาการดังกล่าวได้หลายประการ เช่น จากพันธุกรรม การพัฒนาการที่ล่าช้าของระบบประสาทอัตโนมัติ การหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ ความผิดปกติทางระบบประสาทของการนอน และปัญหาทางด้านจิตสังคม

KAMIL จึงเห็นว่า แนวทางแก้ไข คือการให้ความเข้าใจ การดูแลและให้กำลังใจของพ่อแม่ และการฝึกฝนปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่ช่วยระบบขับถ่ายปัสสาวะกลับมาเป็นปกติ 
ในส่วนที่มีสาเหตุมาจากระบบประสาทที่ทำให้ให้การนอนผิดปกติ หรือการหลั่งฮอร์โมนที่ล่าช้า ไม่เพียงพอนั้น  KAMIL HABBATUSSAUDA สามารถรักษาเยียวยาอาการดังกล่าวได้  เนื่องน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ มีคุณสมบัติในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและการนอนไม่หลับ  เช่น โรคนอนไม่หลับ (insomnia)  อีกทั้งยังประกอบด้วย แอล-อาร์จินีน (L-Arginine) กรดอะมิโน ที่ถือว่าเป็น "โมเลกุลมหัศจรรย์" มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมหาศาล ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่สร้างความเจริญเติบโตในวัยเด็กหรือวัยรุ่นได้อย่างสมวัย (ในวัยสูงอายุ ช่วยฟื้นคืนความหนุ่มสาวให้แก่ร่างกาย) เนื่องจากช่วยทำให้ร่างกายนอนหลับสนิท และได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ  นอกจากนี้ สารอาหารกว่า 100 ชนิด ในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ จะทำหน้าที่ร่วมกันแบบองค์รวม เพื่อเข้าปรับสมดุลของระบบกลไกการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายให้สมบูรณ์  จึงทำให้ผู้บริโภคมีร่างกายสุขภาพร่างกายแข็งแรง หายจากอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ และมีภูมิต้านทานโรคได้เป็นอย่างดีค่ะ / ด้วยรักและห่วงใจ จาก KAMIL Habbatussauda 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ