โรคไมเกรน..ไม่ใช่โรคน่ากลัว
“ไมเกรน” ไม่น่าจะจัดว่าเป็นโรค
ถือเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองบีบตัว และคลายตัวมากกว่าปกติ ซึ่งในคนปกติหลอดเลือดแดงจำนวนมากมายในสมอง
ก็จะมีการบีบตัวและคลายตัวอยู่เป็นประจำ แต่ไม่มากจึงไม่รู้สึกปวดศีรษะ
อาการของไมเกรน
- ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอย แต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกัน หรือเป็นสลับข้างกันก็ได้
- ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากจะปวดตุ๊บๆ นานครั้งหนึ่งๆ เกิน 20 นาที (ยกเว้นจะได้รับประทานยา) แต่บางครั้งถ้าเป็นรุนแรงอาจปวดนานเป็นวันๆ หรือสัปดาห์ก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อๆ ในสมอง
- อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะมีคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะ ก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้ บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากจนรับประทานอะไรไม่ได้ (โดยส่วนตัวแล้ว เคยเห็นคุณแม่เป็นอยู่ค่ะ เวลาท่านเป็นทีคลื่นไส้ อาเจียน ทานอะไรไม่ได้ ต้องนอนพักนิ่ง ๆ เฉย ๆ นานมากอาจจะเป็นวัน จนกว่าอาการจะคลายตัว)
- อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้นๆ ระยิบระยับแสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวนำหน้า มาก่อน
อุบัติการณ์ของโรค พบบ่อยในผู้หญิงวัยสาวระหว่าง 20-40
ปี ในเด็ก และผู้สูงอายุพบน้อย
ผู้ชายพบว่าเป็นไมเกรนน้อยกว่าผู้หญิง 3-4 เท่าตัว
แต่ถ้าผู้ชายเป็น มักมีอาการรุนแรงกว่า โดยมีอาการปวดตาข้างใดข้างหนึ่ง น้ำตาไหล
ตาแดง ปวดรุนแรงมากติดต่อกันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์
และอาจเป็นซ้ำ บ่อยๆ ทุก 6-12 เดือน โรคไมเกรน
พบบ่อยกับสมาชิกอื่นๆ ในครอบครัวที่เป็นผู้หญิง เช่น แม่ น้องสาว น้า ป้า เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
- ภาวะเครียด
- การอดนอน
- การขาดการพักผ่อน หรือทำงานมากเกินไป (ด้วยส่วนตัวของตนเอง ก็มีอาการปวดศีรษะเช่นอาการไมเกรน ในข้อ 1 และ 2 เหมือนกัน เวลาเครียด ทำงานมาก หรือพักผ่อนไม่พอ แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นอาเจียน แต่ก็มีอาการปวดศีรษะ อยู่เป็นช่วง ๆ อยู่หลายวัน เหมือนกันเวลาเป็นขึ้นมา กว่ามันจะคลายตัวและหายไปเอง หรือจากการหยุดพักงานต่าง ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ)
- ขณะมีระดู หรือรับประทานยาคุมกำเนิด (อันนี้ ผู้หญิงสาวหลายคน ก็คงจะเป็นเหมือนกัน มันปวดศีรษะตุ๊บ ๆ อยู่วันสองวัน พอมีระดู จึงถึงบางอ้อ อ๋อ ที่แท้เรากำลังจะมีเมนส์นี่เอง ถึงปวดหัว เพราะเคยมีประสบการณ์มาแล้วจร้า)
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- อาหารบางชนิด เช่น กล้วยหอม เนยแข็ง และช็อกโกแลต
ถึงแม้ไมเกรนจะไม่ใช่โรคน่ากลัว
แต่มันก็เป็นอาการที่รบกวนต่อวิถีในการดำเนินชีวิตของเรา ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไมเกรน
จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆ เหล่านี้ โดยสังเกตตนเองว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นการเกิดโรคไมเกรนในตนเอง
เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและแก้ไขได้ตรงจุด
โรคไมเกรน
ก่อให้เกิดภาวะปวดศีรษะเรื้อรังนานเป็นปี ๆ บางรายอาจนานเป็นสิบ ๆ ปี
จึงมักทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลว่า ทำไมตนเองจึงไม่ยอมหายจากภาวะปวดศีรษะนั้น
และวิตกว่าจะมีความผิดปกติในสมองต่างๆ เช่น เนื้องอกหรือเลือดคั่งในสมอง
หรือเกรงว่าจะเกิดอัมพาต หรือพิการตามมาภายหลัง ในกรณีนี้
จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะจากภาวะเครียดเพิ่มขึ้นมาทับถมอีก
การปวดศีรษะจากภาวะเครียดนั้น จะมีอาการปวดแบบตื้อๆ หนักศีรษะทั่วทั้งศีรษะ
บางรายจะบอกว่าปวดเหมือนมีอะไรมาบีบรัดโดยรอบหัว อาการนี้จะเป็นมากตอนบ่ายๆ
หรือสายๆ ช่วงเช้าไม่ค่อยปวด หลังนอนพักอาการจะดีขึ้น ทั้งนี้
เพราะเกิดจากการบีบเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบศีรษะและบริเวณคอ
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไมเกรน
จะไม่มีอันตรายใดๆ
ที่จะก่อให้เกิดการพิการหรือทุพพลภาพตามมาแต่อย่างใด
อาการปวดศีรษะชนิดไมเกรนนี้จะลดความรุนแรงลงเมื่ออายุมากขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อเลยวัยหมดระดูไปแล้ว จะพบผู้ป่วยไมเกรนน้อยมาก
การปวดศีรษะจากโรคไมเกรนนี้
มักรักษาไม่หายด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาที่ผู้ป่วยใช้ได้ผลดี คือ
ยาแก้ปวดแอสไพริน ขนาด 2 เม็ด
ในขณะปวด แต่ข้อระวังห้ามรับประทานแอสไพรินในขณะท้องว่าง
และผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารห้ามรับประทานแอสไพรินเด็ดขาด
อาจเกิดเลือดออกในกระเพาะได้ นอกจากนี้ ยาแอสไพริน คือ
ยาที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ได้ง่าย
การใช้น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์
หรือ black
seed oil ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ดีที่สุดในการรักษาอาการไมเกรน
ถึงแม้จะไม่มีผลงานวิจัยต่าง ๆ ออกมายืนยันโดยตรงก็ตาม
แต่จากประวัติการใช้ในทางประวัติศาสตร์นับเป็นพันปี
ก็ได้มีการใช้น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ทั้งนี้ เนื่องจากในน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์
มีสรรพคุณในการช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
และช่วยให้การหลับดีขึ้น
ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า “ทำไมน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์”
จึงรักษาอาการไมเกรน
โดยใช้ทั้งในรูปแบบของการรับประทาน และการทาภายนอก ซึ่งผู้ใช้จะได้รับประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยของมัน
ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียดของอารมณ์ และกล้ามเนื้อ...นะจ๊ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ