วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 10% ของประชากร ซึ่งไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ทั่วโลกเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในประเทศไทยมีประชากรประมาณ 60 ล้านคน ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 6 ล้านคน (เป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย) มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า

โรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า เป็นโรคที่มาจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่หุ้มปลายกระดูกถูกทำลายมากขึ้น (เนื่องจากสูงอายุ มักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป) ในขณะที่การสร้างทดแทนลดลง ทำให้กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อเป็นแผลและไม่เรียบ จนทำให้เนื้อกระดูกที่อยู่ด้านล่างขัดสีกันเมื่อมีการเคลื่อนไหว เกิดการอักเสบ ปวด บวมที่บริเวณข้อ ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหว ยืน เดิน หรือนั่งลดลง

อาการแสดงออกของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจพบอาการเพียงอาการเดียว หรือหลายอาการพร้อมกันก็ได้ ในระยะแรกมักจะเป็นไม่มาก และเป็น ๆ หาย ๆ แต่เมื่อข้อเสื่อมมากขึ้น ก็จะมีอาการบ่อยมากขึ้น หรือเป็นตลอดเวลา 
  • ปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่ ต้นขา น่อง และข้อพับเข่า ผิวหนังบริเวณข้ออุ่นหรือร้อนขึ้น
  • ข้อขัด ข้อฝืด เหยียด-งอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่า จากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ
  • ข้อเข่าบวม เพราะน้ำไขข้อมากขึ้นจากการอักเสบ หรือ มีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่าจากเยื่อบุข้อเข่าโป่งออก
  • เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือมีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูปร่าง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง 

การรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
  • กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ 
  • ยาบรรเทาอาการ ยาคลายกล้ามเนื้อ (การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น)
  • ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ (ปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่สร้างขึ้นใหม่) หรือยาชะลอความเสื่อม
  •  ฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือน 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง (13,000-16,000 บาท)
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือเจาะข้อเพื่อดูดน้ำไขข้อออก จะทำให้อาการปวดดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ก็จะกลับมาเป็นอีก และมีผลข้างเคียง เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น กระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบ หรือติดเชื้อในข้อ จึงถือว่าเป็นเพียงแค่บรรเทาอาการชั่วคราวเท่านั้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หรือผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง (และนี่คือหนทางสุดท้ายในการแพทย์แผนปัจจุบัน) 

 ข้อแนะนำในการดูแลรักษาด้วยตนเอง
  1. ลดน้ำหนัก เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่งจะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 10 เท่าของน้ำหนักตัว ( การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น )
  2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี
  3. ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น
  4. เข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี
  5. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
  6. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว
  7. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ
  8. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวด
  9. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
  10. ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และมีขนาดกระชับพอดี
  11. ใช้ไม้เท้า โดยเฉพาะผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม
  12. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น
  13. การออกกำลังกายวิธีอื่น ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็ว ๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาดได้และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้
  14. ถ้ามีอาการปวด ให้พักการใช้ข้อเข่า และประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้ (น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ black seed oil สามารถใช้ทาภายนอก เพื่ออาการอักเสบของข้อเข่า และการปวดเมื่อกล้ามเนื้อได้ ดีมาก ๆ)

 ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้
จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ เพื่อลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร จึงถือว่าแนวทางรักษาข้างต้นเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น และยังมีข้อจำกัดในการรักษาอีกด้วย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และบรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ก็มีอายุใช้งานได้นานแค่ 10 -15 ปี เป็นต้น

(( ความคิดเห็นจาก KAMIL HABBATUSSAUDA ))
จากบทความข้างต้นคงพอที่จะทำให้เราเห็นว่า “การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ เนื่องจากการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มิอาจช่วยท่านให้หายจากการเจ็บปวดได้สักเพียงใด อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูงและมีผลกระทบข้างเคียงมากมายตามมา”

การเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยดูแลและปกป้องร่างกายให้ห่างไกลจากโรค อาหารที่แนะนำสำหรับผู้มีโรคข้ออักเสบ ได้แก่ โปรตีนจากถั่วเหลือง ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผลไม้และผักใบเขียว นอกจากนี้ขิงก็พบว่า มีสารช่วยลดการอับเสบได้ และอาหารที่ให้โอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย ซึ่งพบว่ามีมากในปลาทะเลน้ำลึกนั้น มีคุณสมบัติในการยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูกด้วยเช่นกัน

น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Black Seed Oil บำบัดรักษาอาการข้ออักเสบได้
องค์ประกอบของสารพฤกษเคมีกว่า 100 ชนิดใน Black Seed Oil รักษาโรคข้ออักเสบ ที่สำคัญได้แก่ โอเมก้า 3, โอเมก้า 6, แคลเซี่ยม, ฟอสฟอรัส, โปตัสเซี่ยม และสุดยอดของสารอาหารใน Black Seed Oil ก็คือ สารสกัด Thymoquinone ที่ช่วยต่อต้านการอักเสบ และลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี  โดยที่เราไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด หรือแก้อักเสบ ให้มาทำร้ายตับ ไตที่เป็นอวัยะสำคัญของร่างกาย  และด้วยเหตุนี้เอง ฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Black Seed Oil จึงได้เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ช่วยลดไข้ และแก้ปวด มานับเป็นเวลากว่า 3,000 ปี  โดยเฉพาะในวัฒนธรรมอิสลาม ชาวอาหรับได้ใช้ฮับบาตุซเซาดะฮฺ เพื่อรักษาโรคต่างๆ ได้แก่ ไข้, หอบหืด, ปวดหัวเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, ระบบย่อยอาหาร, ปวดหลัง, การติดเชื้อ และโรคไขข้ออักเสบ ฯลฯ (ตามที่ KAMIL HUBBATUSSAUDA ได้เคยนำเสนอมาแล้วในเรื่องความเป็นมาทางประวัติศาสตร์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ