วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

อย. ของ KAMIL HABBATUSSAUDA

วันนี้ขอกลับมาทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่อง อย. ของ KAMIL อีกสักครั้งหนึ่งนะคะ.. เนื่องจากมีลูกค้ารายหนึ่ง..คุณพ่อของเธอ อายุ 80 กว่าปี รับประทาน KAMIL วันละ 4 แคปซูล (2x2) แล้วรู้สึกว่า..สุขภาพของท่านดีขึ้น ร่างกายสดชื่น ท่านจึงได้แนะนำบรรดาญาติพี่น้องให้รับประทาน. แต่ก็ได้รับการท้วงติงเรื่อง อย. จากพี่น้อง.. ซึ่งตัวท่านเองก็เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ จากผลตอบรับที่ได้กับตัวเอง แต่ก็ไม่สามารถที่จะชี้แจงญาติพี่น้องได้ว่า เพราะเหตุใดจึงไม่มี อย.ของไทย ดิฉันจึงได้รับคำถามนี้มากจากลูกสาวของท่าน
ที่เป็นผู้ซื้อ..

วันนี้ก็เลยย้อนกลับไปดูข้อมูลเก่าในเรื่องนี้ ที่เคยชี้แจงไว้แล้วเมื่อปี 2556 เกี่ยวกับความปลอดภัยในการบริโภค KAMIL HABBATUSSAUDA ว่า มีปลอดภัยหรือไม่..เพียงใด??  ถึงแม้ว่า KAMIL จะไม่ได้ผ่านการรรับรองจาก อย.ของไทยก็ตาม  แต่ทว่า..ได้ผ่านขั้นการรับรองจากทางกรมอนามัย ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิต และการรับจากกรมอนามัยของอินโดฯ ก็มีขั้นตอนที่เข้มงวด..ไม่แพ้ อย.ไทย (เราจะไม่ขอกล่าวถึงขั้นตอนการขอ อย. ไทย ที่เข้มงวด และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่มีความสามารถ ที่จะขอ อย. ให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตนเอง) ต่อไปนี้จึงขอทบทวนโดยสรุปให้รับทราบกันอีกครั้ง ดังนี้

 

KAMIL HABBATUSSAUDA
น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ / น้ำมันเทียนดำ / Black Seed Oil 100%

1. เป็นสินค้านำเข้าจากอินโดเนียเซีย โดยนำเข้ามาทั้ง packaging  มิได้นำมาแบ่งบรรจุในประเทศไทย สินค้าทุกชิ้นจึงผ่านการผลิตและการตรวจสอบ มาจากทางโรงงานที่ผ่านการรับรอง จากประเทศอินโดนีเซีย

2. จัดอยู่ในประเภทของ "ยาแผนโบราณ”

3. มีตรารับรอง JAMU จากอินโดฯ ซึ่งเป็นตรารับรอง "ยาสมุนไพรแผนโบราณ" และมีเพียงประเทศอินโดฯ ประเทศเดียวเท่านั้น ที่สามารถออกตรารับรองนี้ได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ JAMU จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะอาด บริสุทธิ์ ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติล้วน ๆ ปลอดสารเคมีหรือสิ่งเจือปนใด ๆ ที่มิได้มาจากธรรมชาติ.. จึงเปรียบเสมือนสินค้าประเภท ORGANIC FOOD ในตลาดสีเขียวที่เรารู้จักกันดี

4. ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิต จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการอุตสาหกรรม ผลิตยาแผโบราณ (หรือ IZIN IKOT) โดยผู้ผลิต ADAS INDONUSIA ได้รับใบอนุญาตเลขที่ P2T/13/03.10/VII/2011 (เข้าใจว่า..น่าจะออกในปี 2011) 

5. หลักฐานสำคัญ ที่ใช้ในการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตยา
  • ที่ตั้งตัวอาคาร คลังเก็บวัตถุดิบ คลังเก็บสินค้าสำเร็จรูป (ผลิตแล้ว) และขนาดของอาคารที่เหมาะสม
  • สำเนาใบอนุญาต ของเภสัชกรประจำโรงงาน
  • บันทึกข้อตกลง หรือสัญญาระหว่าง ผู้ผลิตกับเภสัชกรประจำโรงงาน
  • ตัวยาที่เป็นของเหลว จะต้องมีผลการทดสอบทางจุลชีววิทยา จากห้อง lab
  • จะต้องมีคำชี้แจงทางการแพทย์ในการผลิต
  • จะต้องแสดงรูปแบบของวัตถุดิบที่นำมาใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ในการประมวลผล บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ และกรรมวิธีในการบรรจุ
  • มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • มีอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ

6. ได้รับใบอนุญาตจดแจ้งขึ้นทะเบียนยา หรือหนังสือรับรองจากกรมอนามัย ประเทศอินโดนีเซีย (Depkes. RI. SP. NO. 1873/13.01/02) โดย lot ปัจจุบัน คือ Best Before : Dec. 2017 (เลขที่ใบอนุญาต : POM TR. 133.370.581)

7. ได้รับตรารับรองฮาลาล (HALAL) จากสาภอุละมาอ์ ประจำกรมอนามัย อินโดฯ (HALAL LP POM MUI) สำหรับแคปซูลที่นำมาบรรจุน้ำมัน โดยได้รับใบรับรองเลขที่
(No. Sert. 00170012700600)

8. สินค้าแต่ละ LOT. การผลิตได้รับการตรวจสอบจากกรมอนามัย ตามกำหนดเวลา โดยสังเกตจากเลขที่ใบอนุญาตจะมีการเปลียนแปลงใหม่.

ทั้งนี้ ผู้บริโภคทุกท่านจึงมั่นใจได้ว่า KAMIL HABBATUSSAUDA
“ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ