วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

น้ำมันจากเมล็ดเทียนดำช่วยลดความดันโลหิต

มารู้จักโรคความดันโลหิตสูงกันก่อน

โรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High blood pressure) เป็นโรคพบได้บ่อยมากในผู้ใหญ่ โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง และผู้สูงอายุในบางประเทศ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พบโรคนี้ได้สูงถึง 50% ผู้ที่อยู่ในภาวะความดันโลหิตสูง คือ วัดความดันได้สูงตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป



แพทย์บางท่านเรียกโรคความดันโลหิตสูง ว่า “เพชฌฆาตเงียบ (Silent killer)” ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่มักจะไม่มีอาการ และจัดเป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรง หากไม่สามารถควบคุมโรคได้ ส่วนใหญ่ภาวะความดันโลหิตสูง มีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง หรือมาจากผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือมาจากอาการของโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง   อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการจากตัวโรคความดันโลหิตสูงเองก็ได้ โดยมีอาการที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน สับสน และเมื่อมีอาการมากอาจโคมาและเสียชีวิตได้

 

น้ำมันจากเมล็ดเทียนดำช่วยลดความดันโลหิต

มีรายงานการวิจัยทางคลินิก : ศึกษาผลการใช้น้ำมันเทียนดำ (น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Black See Oil) ในการลดความดันโลหิตของกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 70 คน อายุระหว่าง 34-63 ปี ที่มีความดันช่วงบน 110-140 มม.ปรอท และความดันช่วงล่าง 60-90 มม.ปรอท โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับน้ำมันเทียนดำ ขนาด 2.5 มล. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก

ผลศึกษาพบว่า : ความดันโลหิตทั้งช่วงบนและช่วงล่างของกลุ่มที่ได้รับน้ำมันเทียนดำจะลดลง  เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ขณะที่ค่าอื่น ๆ เช่น ดัชนีมวลกาย (bodymass index) ระดับของเอนไซม์ aspartate transaminase, alanine transaminase, alkaline phosphatase ระดับของครีตินิน และยูเรียในเลือด ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับน้ำมันเทียนดำ 


จึงสรุปได้ว่า การรับประทานน้ำมันเทียนดำ (น้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์) ขนาด 5 มล. (เท่ากับ 1 ช้อนชา) ต่อวัน นาน 8 สัปดาห์ จะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ โดยปราศจากอาการไม่พึงประสงค์

Phytother Res 2013;27:1849–53.

ขอบคุณข้อมูล :

1. เรื่องความดันโลหิตสูง : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ haamor.com
2. รายงานผลการวิจัยทางคลินิก จากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ