วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ : ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ฮับบาตุซเซาดะฮฺ

มารู้จักโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CAD) หรือโรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ  ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น, เพศชาย, การสูบบุหรี่, ภาวะไขมันในเลือดสูง, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง,  และการไม่ออกกำลังกายประจำ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการสำคัญ คือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะในเวลาออกกำลังกาย ซึ่งในบางรายอาจเป็นแบบฉับพลัน และรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือที่เรียกว่า Heart Attack ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม 





โรคนี้ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาอยู่ 3 วิธี คือ

1)    การทำบายพาส (Coronary Artery Bypass Graft) โดยการผ่าตัดนำหลอดเลือดดำที่ขา หรือหลอดเลือดแดงที่ผนังหน้าอกมาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตัน เพื่อทำทางเดินของเลือดใหม่
2)    การรักษาด้วยยา
3)    การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจ


“ฮับบาตุซเซาดะฮฺ ทางเลือกใหม่ในการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ” ……



เราลองมาอ่านผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ดู

_____♥♥♥_______________♥♥♥¸.•*´¨`*•.¸¸.•¸.•*´¨`*•



ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ฮับบาตุซเซาดะฮ์ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ*
บทคัดย่อ :
การศึกษาได้ดำเนินการเพื่อตรวจสอบผลกระทบของการใช้ฮับบาตุซเซาดะฮฺ (Nigella sativa) ต่อไขมันในเลือดของผู้ป่วยโรคหัวใจ  ที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันโรคหัวใจ    (Ch. Pervaiz Elahi Institute of Cardiology)    ณ เมือง Multan ประเทศปากีสถาน กลุ่มผู้ป่วยที่ทำการศึกษามีอายุระหว่าง 26-69 ปี ผู้ป่วยจำนวน 80 คน ที่ได้รับการคัดเลือก ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างทางสถิติจากน้ำหนักของผู้ป่วย โดยให้การรักษา ดังนี้
กลุ่มแรก (interventional) คือกลุ่มที่ได้รับ ฮับบาตุซเซาดะฮฺ (Nigella sativa) และยา statin (ยาทางเภสัชกรรม ที่ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด)
กลุ่มที่ 2  (non-interventional) หรือกลุ่มควบคุม จะได้รับยา statin เพียงชนิดเดียว
ทั้งสองกลุ่มได้รับการแนะนำให้ใช้ยาตามปริมาณที่กำหนดให้ เป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ โดยมีระยะเวลาในการควบคุมโรค 6 เดือน โดยตัวอย่างเลือดหลังอดอาหาร ได้ถูกนำมาบันทึกทั้งก่อนการรักษา และหลังการรักษา (ทำการตรวจวัด 2 ช่วง คือหลัง 2 เดือน และหลัง 6 เดือน) การประเมินผลหลังการรักษาครบ 6 เดือน พบว่า

·        กลุ่ม interventional  มีระดับคอเลสเตอรอลลดลง (-14.58%),  LDL    
     (-23.00%), VLDL (-15.16%) และไตรกลีเซอไรด์ (-15.16%) อย่างมีนัยสำคัญ (ค่า p < 0.05) ในขณะที่ระดับ HDL-คอเลสเตอรอล เพิ่มขึ้น (3.18%) อย่างมีนัยสำคัญ (ค่า p < 0.05)
·        กลุ่ม non-interventional มีระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น (+1.17%), LDL (- 4.13%), VLDL (-3.10%) และไตรกลีเซอไรด์ (-2.12%) โดยไม่มีนัยสำคัญ (ค่า p > 0.05) ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ค่า p < 0.05) ในระดับ HDL- คอเลสเตอรอล (+5.87%)
สรุปผลการศึกษาพบว่า : กลุ่มที่ได้รับฮับบาตุซเซาดะฮฺในการรักษา  มีการลดลงของ คอเลสเตอรอล, LDL, VLDL และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในขณะเดียวกันก็มีการเพิ่มขึ้นของ HDL อย่างมีนัยสำคัญ (ค่า p < 0.05)  เมื่อนำมาเปรียบเทียบกลุ่มควบคุม non-interventional  จึงสรุปได้ว่า ฮับบะตุซเซาดะฮฺมีผลต่อการลดระดับไขมันในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยโรคหัวใจ
*สรุปจากผลงานวิจัยเรื่องThe Effects of Nigella sativa (Kalonji) on Lipid Profile in Patients with Stable Coronary Artery Disease in Multan, Pakistan”
โดย : Zahida Tasawar1, Zeshan Siraj1, Nisar Ahmad2 and Mushtaq H. Lashari1
       1.    Institute of Pure and Applied Biology, Bahauddin Zakariya University,
            Multan, Pakistan
       2.    Ch. Pervaiz Elahi Institute of Cardiology, Multan, Pakistan
---------------------------------
Source : http://www.newswit.com/food/2006-04-20/coronary-artery-disease-cad/
               http://www.pjbs.org/pjnonline/fin1874.pdf
แปลโดย : KAMIL HABBATUSSAUDA
 

ด้วยรักและห่วงใย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ