วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฮับบาตุซเซาดะฮ์ : การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองและความผิดปกติของระบบประสาท

งานวิจัยเรื่อง : ประสิทธิผลของสารสกัดจากฮับบาตุซเซาดะฮ์ และ Thymoquinone ในการควบคุม เซรั่ม/กลูโคส ซึ่งก่อให้เกิดการตายของเซลล์ PC12

[Protective Effect of Nigella sativa Extract and Thymoquinone on Serum/Glucose Deprivation-Induced PC12 Cells Death]

สถาบัน : Department of Pharmacology and Pharmacological Research Centre of Medicinal Plants, School of Medicine, Mashhad University of Medical Sciences (MUMS), Mashhad, Iran
Source : Cellular and Molecular Neurobiology, May 2010, Volume 30, Issue 4,     pp 591-598

บทคัดย่อ :


การกีดกันซีรั่ม/กลูโคส (SGD) - เป็นตัวชักนำให้เกิดการตายของเซลล์ PC12  ซึ่งเป็นเซลล์ที่ได้มีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้ในหลอดทดลอง  เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาเกี่ยวกับการขาดเลือดในสมอง และการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาท


ฮับบาตุซเซาดะฮ์ หรือ Nigella sativa L. (พืชในตระกูล Ranunculaceae) และองค์ประกอบของสารอาหารที่สำคัญ คือ thymoquinone (TQ) ซึ่งเป็นที่การรู้จักกันดีว่า เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้   เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลในการปกป้องการมีชีวิตอยู่และการเจริญเติบโตของ PC12 (เซลล์เพาะเลี้ยง) และปฏิกิริยาทางชีวเคมีของโมเลกุลที่ประกอบด้วยออกซิเจน (reactive oxygen species ROS) ภายใต้เงื่อนไขของการกีดกัน 
ซีรั่ม/กลูโคส (SGD)  โดยให้ PC12 ถูกเลี้ยงไว้ใน DMEM ขนาดกลาง ภายในประกอบด้วย
ซีรั่มวัวของทารกในครรภ์ 10% (v/v), เพนนิซิลิน penicillin 100 หน่วย / มล. และสเตปโตมัยซิน streptomycin 100 mg/ml  เซลล์ PC12 ได้ถูกเพาะเลี้ยงเพียงแค่ชั่วข้ามคืน  หลังจากนั้นได้ถูกกีดกันจากซีรั่ม/กลูโคสเป็นเวลา 6 และ 18 ชั่วโมง แล้วได้นำกลับมารักษาใหม่ด้วยการให้สารสกัดในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยให้สารสกัดจากฮับบาตุซเซาดะฮ์ (N. sativa) ในปริมาณ 15.62-250 g/ml และให้ TQ (1.17-150 ไมครอน) เป็นเวลา 2 ชั่วโมง  โดยความมีชีวิตและการเจริญเติบโตของเซลล์ได้รับตรวจวัดอย่างเที่ยงตรงด้วย MTT assay (เครื่องมือตรวจนับเซลล์, การแพร่กระจาย, การเป็นพิษ) ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาภายในของเซลล์ (intracellular ROS) ถูกวัดโดยใช้ flow cytometry 2 ', 7'-diacetate dichlorofluorescin (DCF-DA) เป็นเครื่องมือตรวจวัดความผิดปกติของเซลล์  ผลปรากฏว่า การกีดกันเซรั่ม/กลูโคส (SGD) ชักนำให้เกิดความเป็นพิษในเซลล์ (cells toxicity) หลังจากเวลาผ่านไป 6,18,หรือ 24 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญ (P <0.001) การให้การรักษาด้วยสารสกัดจากฮับบาตุซเซาดะฮ์ (N. sativa) และ Thymoquinone (TQ) ในขนาดดังกล่าวข้างต้น ทำให้การกีดกันเซรั่ม/กลูโคส (SGD) ลดลง - เหนี่ยวนำให้เกิดคุณภาพของความเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxicity)ใน PC12 หลังจาก 6 และ 18 ชั่วโมง  ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาภายในของเซลล์ (intracellular ROS) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยแสดงให้เห็นจากค่า SGD (P <0.001)

การให้ N. sativa (250 mg / ml, P <0.01) และ TQ (2.34, 4.68, 9.37 ไมครอน, P <0.01) เป็นการรักษาที่กลับเพิ่มการได้รับออกซิเจนในเลือดให้แก่เซลล์ (ROS) ที่ถูกขาดหายไป (ให้กลับคืนมา)  ผลจากการทดลองสรุปได้ว่า สารสกัดในเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ (N. sativa) และ Thymoquinone (TQ) ช่วยปกป้องเซลล์ PC12 จากการปิดกั้น SGD - เหนี่ยวนำให้เกิดคุณภาพของความเป็นพิษในเซลล์ (cytotoxicity) หรือภูมิคุ้มกัน ผ่านทางกลไกของการต้านอนุมูลอิสระ  ดังนั้น ผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่สูงขึ้น ในการประยุกต์ใช้ความสามารถของสารสกัดจากเมล็ดฮับบาตุซเซาดะฮ์ (N. sativa) และ Thymoquinone (TQ) ในการรักษาภาวะขาดเลือดในสมอง (/((((((((โรคหลอดเลือดในสมอง) และผิดปกติของระบบประสาท

2 ความคิดเห็น:

  1. Brain ischemia หรือ การขาดเลือดในสมอง เป็นภาวะที่มีการไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอที่สมองจะตอบสนองความต้องการของการเผาผลาญ นำไปสู่ภาวะออกซิเจนต่ำ หรือการขาดออกซิเจนในสมอง และทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อสมองหรือกล้ามสมอง/ขาดเลือด หรือเรียกว่า โรคหลอดเลือดในสมอง(Stroke)

    ตอบลบ
  2. Neurodegenerative disorders หรือ ความผิดปกติของระบบประสาท คือ โรคที่มีการทำลายของเซลล์ประสาทในสมอง ทำให้สมองในบริเวณที่ถูกทำลายทำงานไม่ได้ ปริมาตรของสมองจะค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง โรคในกลุ่มนี้ที่เรารู้จัก ได้แก่ อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน
    - โดยที่อัลไซเมอร์ จะมีการทำลายของเซลล์ประสาทในส่วนที่ทำหน้าที่จดจำ การเรียนรู้ ทำให้มีภาวะสมองเสื่อมตามมา
    -ส่วนพาร์กินสัน มีการทำลายของเซลล์ประสาทในบริเวณที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้แสดงอาการสั่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สะดวก
    โรคในกลุ่มนี้รักษาไม่หายขาด ได้แต่ชะลออาการเอาไว้ สำหรับในคนที่เป็นอัลไซเมอร์มักจะมีการดำเนินของโรคเร็ว ผู้ป่วยจะมีชีวิตได้ไม่เกิน 5 ปี ในคนไทยอัลไซเมอร์ไม่ค่อยพบมากเท่าโรคพาร์กินสัน ค่ะ..

    ตอบลบ

กรุณากรอกชื่อ หรือนามแฝง หรืออีเมลล์ด้วยค่ะ